แผนปฏิบัติการ

การจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน

ปีงบประมาณ  2548

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เอกสารลำดับที่  1 / 2548

ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าตูม  จังหวัดสุรินทร์

โทรศัพท์    0-4459-1623   โทรสาร  0-4459-1623

http:// nonthatum.tripod.com  Email :  nonthatum@thai.com

 

 

คำนำ

 

                        แผนปฏิบัติงานการจัดกิจกรรม  ปีงบประมาณ  2548 ของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าตูมฉบับนี้  เป็นการนำเสนอทิศทางการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน  แผนกลยุทธ์ที่      สอดคล้องกับนโยบายทุกระดับ  ในการปฏิบัติงานของสถานศึกษาศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าตูมตามผลผลิตของหน่วยงาน  ทั้ง  4  พันธกิจ    คือ

                                พันธกิจที่  1  การศึกษาพื้นฐาน

                                พันธกิจที่  2  การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

                                พันธกิจที่  3  การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

                                พันธกิจที่  4  การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

                                และด้านการพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษานอกโรงเรียน

                        ดังนั้น  เอกสารฉบับนี้จึงปรากฏข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้บริหาร  บุคลากร  ที่จะนำไปเป็น   แนวทางสู่การปฏิบัติงานและจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนให้กับกลุ่มเป้าหมาย  ประชาชนนอกระบบโรงเรียนและผู้พลาดโอกาส  ให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด  รวมทั้งจะเป็นข้อมูลในการประสานงานหน่วยงาน  องค์กร  เครือข่ายและผู้สนใจในงานการศึกษานอกโรงเรียนได้เป็นอย่างดี

 

 

 

ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าตูม

                                                                                                                   มกราคม  2548

               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

 

                                เรื่อง                                                                                                                                           หน้า

 

       คำรับรองการปฏิบัติราชการ  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าตูม

                        ประจำปีงบประมาณ  2548                                                                                                                1

v   แนวคิดพื้นฐานการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ปีงบประมาณ 2548

ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าตูม                                                                          3      

v   วิสัยทัศน์                                                                                                                                                       3

v   เป้าประสงค์                                                                                                                                                 3

v   ผลผลิตของหน่วยงาน                                                                                                                               3

ผลผลิตที่ 1  การจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน

ผลผลิตที่ 2 การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

v   พันธกิจ                                                                                                                                                         4

v   ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน                                                                                                                        5                                                                                              

v   กระบวนการเรียนรู้                                                                                                                                     6                                                                                                             

v   เป้าหมายการจัดกิจกรรม กศน.ปีงบประมาณ  2548                                                                              6

v   แผนการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรม กศน.ปีงบประมาณ 2548                                        20                                       

v   แบบจำแนกกลุ่มเป้าหมายปี  2548                                                                                                         21                                                                                    

v   เป้าหมายการจัดกรรม กศน. ปีงบประมาณ  2548                                                               23                                                        

v   แบบบัญชีโครงการ/โครงงานตามแผนปฏิบัติการพัฒนาจังหวัดสุรินทร์ ประจำปี  2548     25    

v   แบบสรุปงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ  2548  ที่ตอบสนองงานกลยุทธ     

กศน. สู่การปฏิบัติ                                                                                                          26                 

v   (ร่าง) กลยุทธ กศน. ในอนาคตสู่การปฏิบัติงานของสำนักบริหารงานการศึกษา                   

นอกโรงเรียน  ปี 2548-2551                                                                                          29                                                                                                                                                                                                                     

v   การจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่ประชาชนที่อยู่นอกโรงเรียนฯ                     30                         

v   การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อเติมปัญญาให้สังคม                                       32    

v   การสร้างและส่งเสริมระบบการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบ

และการศึกษาตามอัธยาศัย                                                                                                     34                            

v   ประวัติความเป็นมาของห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”  อำเภอท่าตูม                      41

v   ผลการดำเนินงาน                                                                                                                                   41     

v   บริเวณมุมในห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”  อำเภอท่าตูม                                       42

                                เรื่อง                                                                                                                                           หน้า

 

v   วิสัยทัศน์                                                                                                                                43

v   พันธกิจ                                                                                                                                   43

v   ลักษณะงานห้องสมุดประชาชน  “เฉลิมราชกุมารี”  อำเภอท่าตูม                                          44

v   แผนงานห้องสมุดประชาชน  “เฉลิมราชกุมารี”  อำเภอท่าตูม                                               45

v   การดำเนินงานตามแผนการจัดกิจกรรมและแผนพัฒนาปรับปรุงห้องสมุด                           46

v   โครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”  อำเภอท่าตูม                      47

 

ภาคผนวก

Ø    ประวัติความเป็นมาของอำเภอท่าตูม

Ø    ตัวอย่างโครงการต่าง ๆ

· โครงการปฐมนิเทศนักศึกษา  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าตูม

· โครงการส่งเสริมฝึกทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

· โครงการอบรม  รณรงค์การเลือกตั้ง

                               

                                             

 

 

 

 

 

 

 


แนวคิดพื้นฐานในการจัดการศึกษานอกโรงเรียน  ปีงบประมาณ  2548

ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าตูม

 

บทนำ

                        งานการศึกษานอกโรงเรียน เป็นงานที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนต่อการเรียนรู้ ตลอดชีวิตของประชาชน โดยมีรูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เหมาะสมกับ             กลุ่มเป้าหมายโดยกำหนดวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน

 

วิสัยทัศน์             

ปวงชนชาวอำเภอท่าตูม  สามารถเข้าถึง  โอกาสการเรียนรู้  ตลอดชีวิต ที่มีคุณภาพ

ทุกที่ ทุกเวลา อย่างทั่วถึง

 

เป้าประสงค์         

1.  สร้างโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับประชาชนปวงชนชาวอำเภอท่าตูม

2.  พัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ การจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

กล่องข้อความ: ผลผลิตของหน่วยงาน

 

ผลผลิตที่  1          การจัดการศึกษานอกระบบ

กิจกรรมที่ 1          งานจัดการศึกษาต่อเนื่อง

1.  การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  ได้แก่  การฝึกทักษะอาชีพ   กลุ่มพัฒนาอาชีพ  และการฝึกอบรมอาชีพโดยใช้เทคโนโลยี

2.  การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

3.  การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม โดยจัดการศึกษาต่อเนื่อง  หลักสูตรระยะสั้น

กิจกรรมที่ 2          การส่งเสริมการรู้หนังสือ

กิจกรรมที่ 3          การศึกษาเทียบเท่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.       ระดับประถมศึกษา

2.       ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

3.       ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

กิจกรรมที่ 4          การพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกโรงเรียน

 

ผลผลิตที่ 2           การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

กิจกรรมที่ 1           งานบริการการเรียนรู้ตลอดชีวิต

-          การบริการส่งเสริมการอ่านใน ห้องสมุดประชาชน

กิจกรรมที่  2         พัฒนาคุณภาพการเรียนรู้

กล่องข้อความ: พันธกิจ

 

1.       จัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่ประชาชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ในรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

(1)     การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

(2)     การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

(3)     การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม

(4)     จัดการส่งเสริมการเรียนรู้

(5)     การศึกษาเทียบเท่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2.       พัฒนาคุณภาพการศึกษานอกโรงเรียน โดยการจัดทำระบบประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียน (ศบอ.ท่าตูม)

3.       จัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

-  การส่งเสริมการอ่านในห้องสมุดประชาชน

4.       การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ ให้กับบุคลากร และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย  โดยมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การดำเนินการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ยุทธศาสตร์การดำเนินการ

                                1.  สร้างวิสัยทัศน์  คือ  การกำหนดเป้าหมาย  ทิศทางการทำงาน  มีการวางแผนโดยอาศัยข้อมูลระดับจุลภาคและใช้แผนงาน / โครงงานเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน

                                2.  พัฒนาทีมงาน  ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม บุคลการทุกคน  ทุกระดับมี  ส่วนร่วม  คือ  ร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมรับผิดชอบ  ร่วมประเมิน  ร่วมแก้ปัญหา  และร่วมชื่นชมผลงาน

                                3.  ประสานเครือข่าย  สร้างและประสานงานเครือข่าย  ระดมสรรพกำลัง/จับมือกับหน่วยงานองค์กร  ทั้งภาครัฐ  เอกชน  องค์กรท้องถิ่น  ภูมิปัญญา  และกลุ่มพลังประชาชน

                                4.  กระจายอำนาจ  โดยกระจายความรับผิดชอบให้บุคลากรกลุ่มงานให้สามารถคิด  วิเคราะห์  วางแผน  ตัดสินใจให้บริการแก้ปัญหา  และพัฒนางานให้มีความคล่องตัวเกิดประโยชน์ต่อประชาชนกลุ่มเป้าหมาย  อย่างถูกต้องโปร่งใสและเป็นธรรม

                                5.  ประกาศศูนย์การเรียน  กระจายการบริการไปสู่ชุมชน  เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน  โดยอาศัยชุมชนเป็นฐานการจัดกิจกรรม  ในลักษณะของการจัดศูนย์การเรียนชุมชน

                                6.  เยี่ยมเยือนพื้นที่  มีการเยี่ยม / นิเทศงานในพื้นที่โดยกำหนดเป้าหมาย  และแผนการนิเทศอย่างชัดเจน  เป็นการเสริมสร้างขวัญกำลังใจ  ร่วมแก้ปัญหา  และการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานงาน  การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.)

                                7.  มีหัวใจบริการ  พัฒนาบุคลากรให้มีน้ำใจกับผู้บริการโดยการให้บริการด้วยความใส่ใจ  ยิ้มงาม  ถามไถ่  ให้ข้อมูล

 

กระบวนการบริหารจัดการ

                                1.  จัดโครงสร้างองค์กร  มีการกำหนดโครงสร้างและบทบาทขององค์กรตามโครงสร้าง ให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูประบบราชการ

                                2.  จัดและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเรียนรู้  เช่น  แหล่งเรียนรู้   ศูนย์การเรียน   ชุมชน  ห้องสมุดประชาชน  เพื่อให้บริการสื่อ  การเรียนรู้ที่ประชาชนสามารถศึกษาหาความรู้ข่าวสาร        ข้อมูล  ได้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย  แหล่งการเรียนรู้สู่อาชีพ

                                3.  จัดทำระบบข้อมูล  เพื่อการบริหารโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

                                4.  มีการวางแผนเชิงกลยุทธ์และใช้แผนงาน/โครงการเป็นเครื่องมือในการบริหาร       จัดการ  บุคลากรทุกระดับมีส่วนในการจัดทำแผน

                                5.  จัดให้มีเจ้าภาพในการดำเนินการ  คือ  มีผู้รับผิดชอบและกำหนดบทบาทหน้าที่ของเจ้าภาพอย่างชัดเจน

 

กระบวนการจัดการเรียนรู้

                                1.  ส่งเสริมกระบวนการคิด  เน้นการมีส่วนร่วมคิด  ร่วมวิเคราะห์ในลักษณะของการจัดเวที  การเสวนา  การประชุมสัมมนา  การประชุมเชิงปฏิบัติการ  ประชุมเชิงวิชาการให้โอกาสกลุ่ม        เป้าหมายคิดวิเคราะห์และพิจารณาก่อนตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรม

                                2.  ส่งเสริมการทำ  จัดกระบวนการเรียนรู้โดยให้ลงมือปฏิบัติจริง  เช่น  จากการทำ    โครงการของชุมชน  ฝึกทักษะอาชีพ  ฝึกปฏิบัติงานในแหล่งเรียนรู้  สถานประกอบการ  ในสวนในไร่ในนาจากภูมิปัญญาและผู้รู้

                                3.  สนับสนุนการสร้างความจำ  โดยการส่งเสริมประสบการณ์ที่ได้มีการปฏิบัติจนเกิดความเชี่ยวชาญ  ชำนาญการ  สามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ที่จดจำทำได้ตลอด

                                4.  สนับสนุนให้ปรับปรุงแก้ไข  ข้อบกพร่อง การเรียนรู้ที่เกิดจากการคิดการทำและจดจำ  จนเกิดความชำนาญ  อาจมีข้อบกพร่องหรือปัญหาอุปสรรค  ซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้เกิดคุณภาพมาตรฐาน

                                5.  ส่งเสริมการพัฒนา  ผลสำเร็จของการเรียนรู้ที่เป็นกระบวนการต่อเนื่องตั้งแต่การคิดการทำ  การจำ  การแก้ไข  ก่อให้เกิดการพัฒนา  และขยายผลถ่ายทอดความรู้ไปยังบุคคลชุมชนได้อย่างกว้างขวาง

 

เป้าหมายการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน  ปีงบประมาณ  2548

                                ในงบประมาณ  พ.ศ. 2548  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าตูม  บุคลากร  เจ้าหน้าที่  ทุกกลุ่มงาน  ได้ร่วมกันวางแผนการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับสภาพของกลุ่มเป้าหมาย  สภาพพื้นที่  สอดคล้องตามกรอบนโยบายที่สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน  ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  ได้กำหนดพันธกิจใน  4  พันธกิจ  และ  1  ด้าน  ได้แก่

                                พันธกิจที่ 1           การศึกษาพื้นฐาน

                                พันธกิจที่  2          การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

                                พันธกิจที่  3       การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

                                พันธกิจที่  4          การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

และ  1  ด้านการพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษานอกโรงเรียน  โดยมีเป้าหมายและงบประมาณในการดำเนินงานจัดกิจกรรมในแต่ละด้าน  ดังนี้

 

 

 

 

 

 

พันธกิจที่ 1  การจัดการศึกษาพื้นฐาน

1.  ผลผลิตที่ 1  การจัดการศึกษานอกระบบ

กิจกรรมที่ 1  การจัดการศึกษาต่อเนื่อง

                                1.1  การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

เป็นการพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคล กลุ่มบุคคล

ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในชีวิตที่แตกต่างกัน มีจุดเน้นที่สำคัญ คือ

Ø    พัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแต่   ละบุคคล

Ø    พัฒนาอาชีพของกลุ่ม โดยกระบวนการกลุ่ม มีเป้าหมายในการจัดแต่ละกิจกรรม   ดังนี้

1)  ฝึกอบรมทักษะอาชีพ                                     

                -  หลักสูตร 100  ชั่วโมง                    

                -  หลักสูตร   50  ชั่วโมง                   

2)  กลุ่มพัฒนาอาชีพ (กพอ.)                                 

3)  กลุ่มวิสาหกิจชุมชน  (CE)

 

แนวทางและมาตรการ : การพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพ

1.       ประสานงานแสวงหาเครือข่ายในชุมชนร่วมดำเนินการและให้การสนับสนุน

2.       สำรวจประสานงานสรรหาและกำหนดศูนย์การเรียนรู้อาชีพ โดยยึดความต้องการของ

      ชุมชนเป็นฐานหรือยึดแหล่งเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง เช่น สถานประกอบการ / ภูมิปัญญา/

      ทุ่งนา ไร่  สวน ผู้ประสบความสำเร็จ

3.       สำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและความจำเป็นของชุมชน

4.       ประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้สนใจฝึกทักษะอาชีพลงทะเบียนเป็นนักศึกษา กศน.

5.       จัดทำหลักสูตรและรายละเอียดของหลักสูตรตามข้อมูลที่สำรวจไว้และพิจารณาจำนวน      ชั่วโมงตามความเหมาะสมของแต่ละสาขา โดยมีคณะทำงานที่ประกอบด้วยผู้รู้ / ภูมิปัญญาท้องถิ่น นักวิชาการ และครู กศน. ร่วมดำเนินการ

6.       จัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยมีรูปแบบ คือ

6.1      จัดการฝึกทักษะ ในการประกอบอาชีพตามหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น

6.2      ให้ความรู้ทั้งทฤษฎี และปฏิบัติ เน้นการฝึกปฏิบัติจริง โดยมีวิทยากรเป็นผู้นำการฝึกทักษะ

6.3      ฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ

6.4      ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มพูนประสบการณ์

7.       นิเทศ  ติดตามผลเป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจสอบติดตามการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริม สนับสนุนชี้แจงแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยมีคณะนิเทศ ดังนี้

7.1      ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน

7.2      ผู้บริหารสถานศึกษาและ/หรือบุคลากรที่สถานศึกษาแต่งตั้ง

7.3      หน่วยงาน องค์กร ในท้องถิ่น เช่น อบต. ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน

8.       วิเคราะห์ผลการนิเทศ แก้ไข พัฒนา ปรับปรุง

9.       วัดผล ประเมินผล

9.1      จากสภาพจริง ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถทำได้ ทำเป็น

9.2      จากเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

10.    สรุปผลและรายงานผล

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.       ผู้เรียนเกิดทักษะอาชีพตรงตามความต้องการ

2.       ผู้เรียนสามารถทำเป็น ทำได้ มีความพึงพอใจ

3.       ผู้เรียนจบหลักสูตรตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

4.       ผู้เรียนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

5.       ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีอาชีพสุจริต

 

แนวทางและมาตรการ : การพัฒนาอาชีพ (กพอ.)

1.       รวมกลุ่มผู้มีอาชีพประเภทเดียวกันร่วมเป็นเครือข่าย

2.       จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม

3.       ระดมทุนจากที่ต่าง ๆ เช่น ทุนทางทรัพยากร บุคลากร ภูมิปัญญา วัฒนธรรม เงินทุนทางรัฐ ทุนความรู้ และมีการบริหารจัดการโดยกระบวนการกลุ่มมีคณะกรรมการ ดูแลรับผิดชอบ

4.       เชิญวิทยากร/ผู้รู้ให้ความรู้เป็นครั้งคราว

5.       ศึกษาดูงานแลดเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุมอาชีพอื่นภายในชุมชนหรือนอกชุมชน

6.       ฝึกปฏิบัติเพิ่มทักษะโดยวิทยากรเป็นผู้จัดการเรียนรู้

7.       เรียนรู้โดยวิธีการทำโครงการ/โครงงานทั้งในลักษณะกลุ่มและส่วนบุคคล

8.       เรียนรู้ด้วยตนเอง ส่วนบุคคลโดยการค้นคว้าจากสื่อและทดลองปฏิบัติให้เกิดความ

เชี่ยวชาญยิ่งขึ้น

9.       จัดให้มีครู  กศน.  เป็นพี่เลี้ยงดูแลสนับสนุนกลุ่มให้พัฒนาต่อเนื่อง

10.    นิเทศ ติดตามผล เป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจสอบติดตามการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งเสริมสนับสนุนชี้แจงแนวทางการจัดกิจกรรมการเยนรู้ โดยมีคณะนิเทศ คือ

-  ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน

-  ผู้บริหารสถานศึกษาและ / หรือบุคลากรที่สถานศึกษาแต่งตั้ง

-  หน่วยงาน องค์กรในท้องถิ่น เช่น อบต. ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน

11.    วัดผล ประเมินผล

-  จากสภาพจริง

-  จากเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

12.  สรุปผลและรายงานผล หน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่

       สนับสนุนงบประมาณ

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

ผู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้

(1)     มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

(2)     มีทักษะในการทำงาน รักการงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

(3)     มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพที่สุจริต

(4)     มีคุณธรรม จริยธรรมในการประกอบอาชีพ

(5)     มีรายได้เพิ่มขึ้น

(6)     สามารถถอดองค์ความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับกลุ่มอื่น ๆ ต่อไปได้

-  ในกรณีกู้เงินมาลงทุนสามารถคืนเงินได้

-  ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีเงินออมมากขึ้น

-  เงินกองทุนของกลุ่มมีเพิ่มขึ้น

 

1.2  การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

เป็นกระบวนการเสริมสร้างความรู้ ความสามารถของบุคคล เพื่อให้สามารถจัดการกับตนเอง

และสิ่งแวดล้อมให้มีความสุข ความสงบ และความปลอดภัย มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็น เช่น ทักษะการ    สื่อสาร สุขภาพอนามัย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทรัพยากรชุมชนและสิ่งแวดล้อม  รวมทั้งทักษะชีวิตด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม

                เน้น   พัฒนาทักษะชีวิตให้กับนักศึกษาและประชาชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ดังนี้

-  การเติมปัญญาให้สังคม

-  การส่งเสริมการอ่านพัฒนาคุณภาพชีวิต

-  ทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนไทย (THAI DEE)

นอกจากนี้ได้มีการจัดกิจกรรมโครงการ / กิจกรรมพิเศษ เช่น

                -  โครงการและการแก้ไขปัญหายาเสพติด

                -  โครงการกีฬา ศบอ.ท่าตูม เกมส์ 

                -  โครงการกิจกรรมการส่งเสริมฝึกทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

                -  โครงการอบรม  รณรงค์การเลือกตั้ง

 

แนวทางและมาตรการ

1.       จัดกระบวนการเรียนรู้โดยบูรณาการเข้ากับกิจกรรมตามพันธกิจการศึกษานอกโรงเรียนทุกประเภท ทุกหลักสูตร

2.       เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโดยส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาใสอดคล้องกับสภาพและประสบการณ์ ตลอดจนความต้องการและความจำเป็นของผู้เรียน

3.       พัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถ โดยการรวมกลุ่มใช้กระบวนการจัด กลุ่มสนใจ ,

      เวทีเสวนา , เข้าค่าย/ฝึกอบรม การเรียนรู้ตามอัธยาศัย

4.       ปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดในการจัดกิจกรรมทักษะชีวิตให้กับบุคลากร  กศน.โดยปรับ    บทบาทครู กศน. ให้เป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมและสร้างองค์กรความรู้ในหลักสูตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตสร้างกระบวนการทำงานเป็นทีม  ร่วมคิดร่วมทำร่วมแก้ปัญหา ร่วมพัฒนาประสานเครือข่าย  เช่น ผู้นำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัด   กิจกรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษา/ประชาชน และชุมชน เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ในชุมชน  มีการติดตามผล โดยนักศึกษาและประชาชนอย่างต่อเนื่อง  ดำเนินการจัดทำมาตรการคุณลักษณะบุคคลที่มีทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมจากบุคคล กลุ่มคน และชุมชน

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.       มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมตามจำนวนที่กำหนด

2.       กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมกิจกรรม ร้อยละ 80 มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้

2.1      เป็นคนที่พึ่งตนเองได้

2.2      มีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่เข้มแข็ง

2.3      มีอาชีพ มีรายได้ เลี้ยงตนเองได้

2.4      มีความรู้ ความสามารถที่เป็นคนรอบรู้หลาย ๆ ด้าน

2.5      มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ศึกษาหาความรู้สม่ำเสมอ

2.6      มีคุณธรรม จริยธรรม เสียสละรับผิดชอบ รู้จักสามัคคี

2.7      มีการแลกเปลี่ยน  เรียนรู้ ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

2.8      ดำรงตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน

ประเภทและวิธีการจัดกิจกรรม

1.  การจัดกลุ่มสนใจ  เป็นการจัดกิจกรรมตามความสนใจของนักศึกษา/ประชาชน ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ให้สามารถพึ่งพาตนเอง และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยมีวิธีการ ดังนี้

1.1      สำรวจข้อมูล ความต้องการทักษะในการดำเนินชีวิตของนักศึกษา/        ประชาชน

1.2      จัดทำหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ตามความต้องการและจำเป็นของกลุ่ม   เป้าหมาย

1.3      รวมกลุ่มและจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ โดยเชิญผู้รู้ , ครู กศน , และ   ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกันให้ความรู้ดำเนินการจัดกิจกรรมและนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

1.4      ติดตามประเมินผล โดยการแนะนำ ให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง

1.5      วัดผลประเมินผล โดยตรวจสอบการดำเนินงานกิจกรรมว่าไปตามเกณฑ์      ตัวชี้วัดหรือไม่ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะพัฒนาปรับปรุงให้เป็นตามเกณฑ์   ของหลักสูตรที่กำหนด

1.6      สรุปผล รายงานผล เผยแพร่

 

กิจกรรมที่จะดำเนินการ

1)      ด้านป้องกันสาธารณภัย

-   โครงการป้องกันอุบัติภัยจากการขับขี่

-   โครงการป้องกันอุบัติเหตุในชีวิตประจำวัน

2)      ด้านสุขภาพอนามัย

-   โครงการให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

-   การเต้นแอโรบิก

3)      ด้านคุณธรรม จริยธรรม และความสงบร่มเย็น

-   การฝึกสมาธิและอบรมเพื่อการดำเนินชีวิตเป็นสุข

-   ความสามัคคีในหมู่คณะ

4)      ด้านสิ่งแวดล้อม

-   การอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่าไม้

-   การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2.  การจัดเวทีเสวนา  เป็นการรวมกลุ่มพบปะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ ตามความ

     ต้องการของประชาชนในชุมชนนั้น ๆ มีวิธีการดำเนินการ ดังนี้

2.1     โดยการรวมกลุ่มคนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ไม่กำหนดระยะเวลา

2.2  จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับสภาพและสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

2.3  มีครู กศน. ร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นตั้งประเด็นกระตุ้นส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านสังคม,การเมือง,เศรษฐกิจ,สิ่งแวดล้อมสุขภาพและศิลปวัฒนธรรม

2.4  หาข้อสรุปและกำหนดเป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน

2.5 วัดประเมินผลโดยการสังเกตจากการมีส่วนร่วม,การกล้าแสดงความคิดเห็น

2.6  สรุปผล รายงานเผยแพร่ นำไปใช้ในชุมชน

 

กิจกรรมที่จะดำเนินการ

                        -  เวทีประชาธิปไตย/เวทีประชารัฐ

                        -  เวทีเสวนาต้านยาเสพติด

                        -  เวทีส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

                3.  การฝึกอบรมเป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันของกลุ่ม      

เป้าหมายเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน โดยใช้กิจกรรมเข้าค่าย หรือการอบรมสัมมนา   มีวิธีการดำเนินการ ดังนี้

3.1  รับสมัครและคัดเลือกผู้สนใจที่จะเข้ารับอบรม

3.2  จัดทำหลักสูตรการอบรม/การจัดค่าย

3.3  ดำเนินการจัดกิจกรรม เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมโดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ที่มีผู้อำนวยความสะดวก คือ ครู กศน. และอาสาสมัครในชุมชน

3.4  ประสานผู้รู้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ

3.5  จัดกิจกรรมในลักษณะเข้าค่ายในลักษณะค้างคืนมีภาคกลางวันและภาค

กลางคืนหรือจัดค่ายไป-กลับ ไม่ค้างคืน เน้นการอบรมให้ความรู้ ฝึกปฏิบัติแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือใช้บทเรียนจากประสบการณ์ของคนในชุมชนเป็นกรณีพิเศษ

3.6  วัดผล ประเมินผล โดยการสังเกต และปฏิบัติหรือใช้แบบสอบถาม

3.7  ติดตามผลโดยครู กศน. ในแต่ละสถานศึกษาเป็นผู้ประสานการ

ดำเนินการ

กิจกรรมที่จะดำเนินการ

1.       ค่ายป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด / โรคเอดส์

2.       ค่ายสุขภาพอนามัย

3.       อบรมคุณธรรม จริยธรรม

4.       ค่ายประชาธิปไตย

5.       ค่ายเกษตรอินทรีย์

 

ตัวชี้วัด/ผลผลิต

                ศบอ.ท่าตูม  ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนส่งเสริมในด้านต่าง ๆ คือ

1.       ระบบเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ชุมชนเข้มแข็ง มีการรวมกลุ่มที่ดูแลเอื้ออาทร และร่วมมือกันในการสร้างกระบวนการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

2.       กระบวนการส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรมโดยใช้หลักธรรมทางศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน

3.       กระบวนการส่งเสริมประชาธิปไตยในวิถีชีวิต โดยการจัดเวที การเสวนา การเข้าค่าย การอบรม

4.       การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยให้ชุมชนเป็นผู้ริเริ่ม

5.       มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายในลักษณะศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 

               

                1.3  การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน  (การศึกษาหลักสูตรระยะสั้น)

                เป็นกิจกรรมที่จัดเพื่อตอบสนองนโยบายพัฒนาสังคมและชุมชน  เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน  การจัดเวทีชาวบ้าน  จัดกระบวนการเรียนรู้ การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน เพื่อสนองนโยบายกองทุน    หมู่บ้านของรัฐบาล

 

กลุ่มเป้าหมาย

3.1      นักศึกษา  กศน.  กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน Sme

3.2      กลุ่มฐานเศรษฐกิจในชุมชน

 

แนวทางการดำเนินการ

1.       คัดเลือกชุมชน/หมู่บ้าน /ร่วมการพัฒนาโครงการเศรษฐกิจชุมชน/กองทุนหมู่บ้าน

2.       จัดเวทีชาวบ้านเพื่อสร้างความเข้าใจให้เกิดกระบวนการคิด ตระหนัก และรับรู้

สภาพปัญหาความต้องการของชุมชน

3.       จัดหาบุคคลเป็นแกนนำหมู่บ้านเพื่อเป็นผู้เชื่อมโยงต่อในการบริหารจัดการ

โครงการในชุมชน

4.       รับสมัครสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ

5.                   สถานศึกษา แกนนำ และชุมชน ร่วมกัน สำรวจ ข้อมูลผู้ร่วมโครงการ จำแนก       รายละเอียดด้านอาชีพ ตลอดจนรายได้ หนี้สิน ผลผลิต และข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นตามสภาพพื้นที่และจัดทำทำเนียบสมาชิกผู้ร่วมโครงการไว้เพื่อประโยชน์ในการจัด     กิจกรรมการเรียนรู้

 

 

                                6.  จัดเวทีวิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูล เพื่อหาประเด็นร่วมและนำไปใช้เป็นกรอบทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน จัดศูนย์การเรียน แหล่งเรียนรู้ เสริมประสบการณ์

                                7.  นำประเด็นร่วมที่เป็นกรอบทิศทางในการพัฒนาไปจัดทำแผนการจัดกิจกรรม

ตามสภาพ

                                8.  สถานศึกษา  ออกแบบกิจกรรมของโครงการและจัดกระบวนการเรียนรู้ตามกิจกรรมโดยใช้ยุทธศาสตร์ คิด ทำ จำ แก้ปัญหา  พัฒนา และมีรูปแบบการเรียนรู้  ดังนี้

8.1      รู้โดยผ่านโครงการ  (Project  Approach)

8.2      กลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มและระหว่างกลุ่มอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

8.3      ศึกษาดูงาน เพื่อเสริมความรู้

8.4      เรียนด้วยตนเองจากสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือ โทรทัศน์ วีดีทัศน์ สอบถาม

ผู้รู้

8.5      การฝึกอบรมในสถานประกอบการ / แหล่งเรียนรู้

8.6      การฝึกปฏิบัติกิจกรรมโดยผู้รู้ในกลุ่ม

8.7      เรียนโดยการบรรยายประกอบการฝึกปฏิบัติกิจกรรมโดยวิทยากร

9.  ให้มีการนำทุนทางสังคม เช่น ประเพณีวัฒนธรรม ผู้รู้ ภูมิปัญญา  ปราชญ์ชาวบ้าน 

เงินทุน ออมทรัพย์  ความสามัคคี  ฯลฯ เข้ามาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ และกรบวนการพัฒนาในขั้นตอน คิด ทำ จำ แก้ปัญหา และพัฒนา

 10.  ส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้ การผลิต  การบรรจุภัณฑ์ 

การจำหน่าย  การตลาด E-Commerce ตามความพร้อมและความจำเป็นของกลุ่ม ชุมชนและท้องถิ่น

                                11.  จัดให้ครู/อาจารย์เป็นพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาประจำกลุ่มเพื่อดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้ในด้านการเงิน การตลาด การบัญชี การบรรจุภัณฑ์หรือกองทุนหมู่บ้าน  เป็นต้น

                                12.  จัดให้มีการบริหารจัดการในรูปของกระบวนการกลุ่ม  โดยให้กลุ่มคัดเลือกประธานกรรมการ  เลขานุการ ของแต่ละกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มดำเนินการต่อเนื่องด้วยตนเอง

13.  ส่งเสริมให้กลุ่มจัดกองทุนสวัสดิการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของกลุ่ม

ในชุมชน

                                14.  ติดตามประเมินผลการพัฒนาอาชีพหรือการพัฒนากองทุนหมู่บ้าน เป็นรายบุคคล  รายกลุ่ม  โดยสถานศึกษาดำเนินการร่วมกับชุมชน

                                15.  ให้กลุ่มร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของแต่ละกลุ่มอาชีพ

16.    เผยแพร่ผลการดำเนินงานไปสู่ชุมชนอื่น ๆ

 

 

 

การประเมินผล

1.  ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของชุมชน/กองทุนหมู่บ้านชุมชน

2.  ประเมินตามตัวชี้วัดความสำเร็จ

 

                ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.  สังคมร่มเย็นเป็นสุข

2.  มีคุณธรรมในการดำเนินชีวิต

3.  สามารถลด  ปลดหนี้

4.  สมาชิกมีเงินออม  มั่นคงในด้านเศรษฐกิจ

5.  มีกองทุนของกลุ่มเพื่อใช้เป็นสวัสดิการและการจัดกิจกรรมเรียนรู้

6.  มีการนำทุนทางสังคมมาใช้อย่างเต็มศักยภาพ

7.  มีความยั่งยืนของกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

8.  เป็นชุมชนต้นแบบ  ที่สามารถเป็นตัวอย่าง ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนอื่น ๆ ได้

 

กิจกรรมที่ 2  การจัดส่งเสริมการรู้หนังสือ

                เป็นการส่งเสริมผู้ไม่รู้หนังสือ ให้อ่านออก เขียนได้ โดยจัดการศึกษาแบบเบ็ดเสร็จพื้นฐาน ดำเนินการจัดกิจกรรม โดยครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน  นักศึกษา และ อาสาสมัครในชุมชน

 

กิจกรรมที่  3  การจัดการศึกษาเทียบเท่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หลักการจัดการศึกษา

                มีสาระการจัดการศึกษาตั้งแต่ การส่งเสริมการรู้หนังสือ การศึกษาในหลักสูตรเทียบเท่า การศึกษาพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่อง  สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ไม่รู้หนังสือ แรงงานต่างด้าว และกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ผู้ต้องขัง ทหารกองประจำการ และประชาชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียนทุกคน มีเป้าหมายที่ดำเนิน     ในปีงบประมาณ 2548  ดังนี้

                                1)  ระดับประถมศึกษา                                                                       

                                2)  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น                                           

                                3)  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย                                                    

 

แนวทางและมาตรการ

                                1.1  พัฒนาครู กศน. ให้มีความรู้ความสามารถและมีทักษะในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้จากกระบวนการคิด การทำ การจำ การแก้ปัญหา และการพัฒนาจนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยให้ความสำคัญกับจิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ใหญ่

                                1.2  พัฒนาและจัดทำหลักสูตรการจัดการศึกษาพื้นฐานสำหรับกลุ่มเป้าหมาย              นอกโรงเรียนให้สอดคล้องกับสภาพและความจำเป็นในแต่ละพื้นที่ จังหวัดสุรินทร์ ตลอดจนความต้องการของประชาชน

                                1.3  ประสานงานจัดทำข้อมูล แหล่งเรียนรู้ /ศูนย์การเรียนชุมชน ภูมิปัญญาให้เป็น    เครือข่ายการเรียนรู้

1.4    จัดศูนย์การเรียนชุมชนในทุกตำบล  เพื่อเป็นศูนย์รวมของข้อมูล ความรู้และ          กิจกรรมการเรียนรู้

1.5      ผลิต จัดหาสื่อเสริมความรู้ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ เอกสารแบบเรียน หนังสือพิมพ์

วารสาร สื่ออิเล็กทรอนิคส์  (วิทยุ  โทรทัศน์  วิดีโอ  วิซีดี เทปคลาสเซ็ท คอมพิวเตอร์ Internet) เพื่อให้บริการการเรียนรู้กับผู้เรียน

1.6      ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดย

-         เรียนรู้จากสื่อที่หลากหลาย

-         เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

-         เรียนรู้จากผู้รู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

-         เรียนรู้จากกระบวนการกลุ่ม

-         เรียนรู้โดยการทำโครงการ (project Approach)  ของชุมชนใช้

      สถานการณ์/กิจกรรมของชุมชุมเป็นเนื้อหาสาระของโครงการที่ร่วมกันลง

      มือปฏิบัติจริง

-         เรียนรู้จากกิจกรรมของชุมชน กิจกรรมค่าย การอบรม ประชุมสัมมนา ที่สถานศึกษาหรือหน่วยงานในชุมชน นอกชุมชนจัดขึ้น

-         เรียนรู้จากการไปศึกษาดูงาน

-         เรียนรู้จากกิจกรรมเสริมหลักสูตร

1.7      เรียนรู้โดยกระบวนการพบกลุ่ม

-         ผู้เรียนพบกลุ่มสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า  3  ชั่วโมง  เพื่อให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมประสบการณ์จากกลุ่ม

-         ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวเองทุกวันที่บ้านที่ทำงานหรือทุกสถานการณ์ทุก     สถานที่

-         มีครูศูนย์การเรียนชุมชนเป็นที่ปรึกษาและดูแลอำนวยความสะดวกจัดหาสื่อข้อมูลเพื่อการค้นคว้า จัดกิจกรรมกลุ่มและมอบหมายงานให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าและมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ตรวจประเมินผลงานของผู้เรียนและบันทึกผลงานของผู้เรียนแต่ละคน

-         ผู้เรียนและครูศูนย์การเรียนชุมชนร่วมกันวางแผนการเรียนรู้ ทั้งเรื่องเนื้อหาสารระ วิธีการเรียนรู้ และวิธีวัดผลประเมินผล กำหนดการทำงาน (รายงาน/โครงงาน/ชิ้นงาน)

-         กระบวนการในการพบกลุ่ม เป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ ซึ่งการจัดให้มีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้

(1)     จัดกลุ่มตามความเหมาะสมกับเนื้อหา

(2)     ใช้สื่อผสม เช่น ในงาน/ประเด็น ดูวิดีทัศน์ หนังสือ เอกสาร เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

(3)     มีการอภิปรายกลุ่มตามประเด็น โดยครู ศรช. กำหนดหรือผู้เรียนในกลุ่มรวมกันกำหนดหรือครูและผู้เรียนในกลุ่มร่วมกันกำหนด

(4)     บรรยายให้ความรู้โดยผู้รู้

(5)     ร่วมกันสรุปบทเรียน มีการบันทึกการเรียนรู้

(6)     ร่วมกันเตรียมบทเรียนในคราวต่อไป

(7)     การวัดผลและประเมินผล ดำเนินการไปพร้อมกับการจัด

กิจกรรมการเรียนรู้ทุกครั้งโดยประเมินพฤติกรรม ดูผลงานที่ปฏิบัติร่วมกับกลุ่ม แฟ้มสะสมงานและ   โครงงาน มีการสอบระหว่างภาค และปลายภาค โดยใช้เครื่องมือหรือแบบทดสอบที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์แทนข้อสอบ กาเครื่องหมาย  เลือกตอบ

1.8      รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้

(1)     มีข้อมูลชัดเจน ซึ่งได้มาจากการประสานข้อมูล จปฐ/กชช2 ค และการสำรวจความต้องการ

(2)     จัดตามความต้องการหรือสภาพปัญหาความจำเป็นของผู้เรียนและ

       ท้องถิ่น

(3)     การจัดการเรียนการสอน เน้นทักษะการอ่าน – เขียน ภาษาไทย การคิดคำนวณ คิดวิเคราะห์ การสื่อสาร โดยมีผู้ดำเนินการคือ

-  ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน

-  อาสาสมัครในชุมชน

                                                              - นักศึกษา ระดับ ม.ต้น ม.ปลาย ตามหลักสูตรพื้นฐาน กลุ่ม

                                                           เป้าหมาย กศน.พัฒนาการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

-         บูรณาการกับกิจกรรมทักษะชีวิต  การพัฒนาอาชีพ   การพัฒนาสังคมและชุมชน

-         ดำเนินการในลักษณะโครงการ (Project  Approach)

-         เน้นกระบวนการกลุ่ม มีการวางแผนร่วมกัน โดยครู กศน.เป็นที่ปรึกษา

-         ประเมินกระบวนการและผลงานที่ปรากฏจริง

1.9        พัฒนาการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้

-         ประเมินตามสภาพจริง โดยพิจารณาจากกระบวนการเรียนรู้ ผลงาน และพฤติกรรมที่แสดงถึงความรู้ ความคิด คุณธรรม จริยธรรม การมีจิตสาธารณะดำเนินการไปพร้อมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกครั้ง

-         จัดและประเมินผล จัดให้มีการวัดผลและประเมินผลหลายรูปแบบ เช่น จากโครงงาน จากแบบฝึกหัด ใบงาน และการทดสอบ ที่ใช้แบบทดสอบปรนัย 30 % อัตนัยที่แสดงถึงความรู้ ความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 70 % ทั้งนี้ให้มีการวัดและประเมินผลระหว่างภาคเรียน 40 % ปลายภาคเรียน  60%

-         ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกันในประเมินตนเอง ในลักษณะของแฟ้มสะสม

       ผลงาน

-         จัดให้มีการทดสอบโดยใช้เครื่องมือการทดสอบตามมาตรฐานกลาง ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดหรือศูนย์การศึกษานอก         โรงเรียนภาคเหนือ กรมศึกษานอกโรงเรียน

1.10     การพัฒนาระบบการส่งเสริม ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพ การจัดการศึกษา

-         จัดระบบโครงสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ ในลักษณะของศูนย์การเรียนชุมชน / แหล่งเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ ให้เป็นเครือข่ายห้องสมุดประชาชน เพื่อแลกเปลี่ยนหมุนเวียนสื่อการเรียนรู้ โดยมีครูประจำศูนย์การเรียนเป็นแกนในการดำเนินการ

-         สถานศึกษาจัดทำเกณฑ์มาตรฐาน ด้านปัจจัย กระบวนการและผลผลิต

-         พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้มีความรู้  ความเข้าใจ ในเรื่องการกำหนดคุณภาพมาตรฐาน เข้าสู่การประกันคุณภาพ

-         สถานศึกษาประเมินตนเอง ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

-         แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน โดยให้กรรมการสถานศึกษาร่วมเป็นกรรมการ     

ตัวชี้วัด

เชิงปริมาณ

                                -  มีผู้เรียนตามเป้าหมายที่กำหนด

-  ผู้เรียนร้อยละ 80  ของผู้ลงทะเบียนเข้ารับการวัดผลและประเมินผล

 

เชิงคุณภาพ   ผู้เรียนที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ร้อยละ 70  มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์  คือ

1.   มีความรู้ความสามารถและทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

1.       มีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ

2.       มีความรู้ ความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และรู้จักแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล

3.       ปลูกจิตสำนึกให้เป็นคนดี  มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

4.       มีความตระหนักถึงการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม

5.       สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

6.       มีความรู้และทักษะเพียงพอในการประกอบอาชีพ การศึกษาเพิ่มเติมและการดำรงชีวิต

 

ผลผลิตที่  2  การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                                โดยให้บริการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อสนับสนุนให้ประชาชน      สามารถเรียนรู้ได้ตามความต้องการมีแนวทางและมาตรการดำเนินงาน ดังนี้        

                                1.  ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ เช่น ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้    ในแหล่งเรียนรู้ จัดหาและพัฒนาบุคลากร บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด ครู กศน. ทุกประเภท เพื่อจัด  กิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้

                                2.  จัดและสนับสนุนให้แหล่งเรียนรู้ให้มีสื่อ และเทคโนโลยีเพื่อให้บริการการเรียนรู้อย่างพอเพียง

                                3.  ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน          ศูนย์การเรียนชุมชน  จุดติดตั้งไทยคม แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ

                                4.  ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ และให้บริการข้อมูลการจัดกิจกรรมต่าง ๆ

 

5.  ด้านการพัฒนาระบบบริการและด้านโครงสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ โดยจัดให้บริการ    ดังต่อไปนี้

                5.1  ให้บริการโดยห้องสมุดประชาชนในทุกอำเภอ/กิ่งอำเภอ  รวม  1  แห่ง

                                -  ห้องสมุดประชาชน  “เฉลิมราชกุมารี”   1  แห่ง 

                5.2  จัดและพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชน  เพื่อเป็นศูนย์รวมของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนทุกประเภทหลักสูตรเข้ากับกิจกรรมของชุมชน  รวม  10  แห่ง                 5.3  ให้บริการสื่อโสตทัศนวัสดุการศึกษา    จุดติดตั้งชุดรับสัญญาณดาวเทียมไทยคม        จำนวน   2    แห่ง 

 

 

 

 

 

( ร่าง )  กลยุทธ์  กศน.ในอนาคตสู่การปฏิบัติ

ของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน  ปี  2548-2551

 

วิสัยทัศน์

Ø    ปวงชนชาวไทยสามารถเข้าถึงโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ทีคุณภาพ  ทุกที่  ทุกเวลาอย่างทั่วถึง

 

พันธกิจ

Ø    สร้างโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับปวงชนชาวไทย

Ø    พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

 

เป้าประสงค์

Ø    ปวงชนชาวไทยเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

Ø    ปวงชนชาวไทยได้รับการศึกษานอกระบบ  และการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

 

ประเด็นกลยุทธ์

Ø    การให้  กศน.เป็นของประชาชน

Ø    การสร้างบุคลากร  กศน.มืออาชีพ

Ø    การใช้รูปแบบและเทคนิควิธรการจัดที่เอื้อต่อโอกาสในการเรียนรู้ของปวงชนชาวไทย

Ø    การพัฒนามาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยให้ทัดเทียมกับประเทศชั้นนำทาง  กศน.ของเอเชีย

 

กลยุทธ์

Ø    สร้างเครือข่าย/พันธมิตรกลยุทธ์ให้กว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ

Ø    ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการความรู้ภาคประชาชน

Ø    เสริมสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมที่ดีในการปฏิบัติงานของบุคลากร

Ø    เสริมสร้างศักยภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร

Ø    ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและหลากหลายในการจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

Ø    ส่งเสริมการประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย  โดยนำเทคนิคการวัดผลงานสมัยใหม่ (Modern  Performance  Measurement)  มาใช้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง

 

การจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ให้แก่ประชาชนที่อยู่นอกโรงเรียน

ในรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ในด้านการศึกษาพื้นฐาน   การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

 

นโยบาย

                                เร่งรัด จัดและพัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในด้านการศึกษาพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน ให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาและบริบทของชุมชน ตลอดจนความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยยึดชุมชนเป็นฐานและการบูรณาการกิจกรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน เพื่อเป็นการสร้างคน สร้างงาน สร้างรายได้ และอำนวยโอกาสให้ประชาชนได้เรียนรู้ตลอดชีวิต อันจะนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา

กรอบความคิด

                                การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อให้มีความรู้พื้นฐานในการสร้างงาน สร้างรายได้ และสุนทรียภาพของชีวิต โดยยึดชุมชนเป็นฐานและการบูรณาการกิจกรรมให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา ความจำเป็น และความต้องการของประชาชนอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

                                1. การศึกษาพื้นฐาน

                                                การศึกษาพื้นฐาน เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้และมีทักษะพื้นฐานในการนำไปแสวงหาความรู้เพิ่มเติม และพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ โดยมีรูปแบบการดำเนินงาน ดังนี้

                                                1.1 รูปแบบการส่งเสริมการรู้หนังสือ เป็นการจัดการศึกษาสำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงและพื้นที่ราบ  เพื่อให้สามารถอ่านออกเขียนได้ และมีความรู้พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนความรู้ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน โดยมีวิธีการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของผู้เรียน

                                                1.2 รูปแบบการศึกษาแบบพบกลุ่ม เป็นวิธีเรียนที่เน้นความแตกต่างและความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก เป็นการเรียนรู้ในรูปแบบเฉพาะบุคคล ที่ผู้เรียนแต่ละคนอาจต้องการเรียนเนื้อหาสาระและใช้ระยะเวลาในการเรียนที่ไม่เหมือนกัน มีการพบกลุ่มสัปดาห์ละครั้ง หรือหลายครั้ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเวลาและความต้องการหรือความจำเป็นในการพบกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย

                                                1.3 รูปแบบการศึกษาทางไกล เป็นวิธีที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อทางไกลหลายรูปแบบ สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุมากและไม่มีเวลาที่จะมาพบกลุ่ม และกลุ่ม เป้าหมายที่อยู่ต่างประเทศ

                                2. การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

                                                การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคลเพื่อให้บุคคลสามารถเข้าสู่อาชีพ สามารถประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพของตนได้ โดยพิจารณาถึงความต้องการในการเรียนของแต่ละบุคคล  จิตวิทยาการเรียนรู้ และจิตวิทยาผู้ใหญ่ ทั้งนี้ วิทยากรผู้สอนจะต้องเป็นผู้ประกอบอาชีพนั้นหรือเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพหรือเป็นผู้ประกอบการหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยแบ่งการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพเป็น ๓  รูปแบบ คือ

                                                2.1 การฝึกทักษะอาชีพ เป็นการฝึกหลักสูตรอาชีพระยะสั้น เวลาเรียนขึ้นอยู่กับความรู้ที่จัด และความต้องการของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพได้

                                                2.2 การพัฒนาอาชีพ เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะกลุ่มพัฒนาอาชีพ ที่กลุ่มผู้มีอาชีพประเภทเดียวกันมารวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนาอาชีพที่ทำอยู่ให้ดีขึ้น มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนแสวงหาความรู้และประสบการณ์การร่วมกัน โดยมีวิทยากรมาให้ความรู้เป็นครั้งคราวตามความต้องการ และมีการระดมทุนทางสังคมมาใช้ในการจัดกิจกรรมภายในกลุ่มด้วย

                                3. การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

                                                การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เป็นการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนเพื่อให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน ทั้งที่เป็นสาระเกี่ยวกับทักษะชีวิตแกนกลางที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ เช่น ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การป้องกันสาธารณภัย การจราจร การสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่ดี เป็นต้น และสาระที่สอดคล้องกับสังคม และวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค

                                4. การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

                                                การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน เป็นการศึกษาที่บูรณาการความรู้และทักษะจากการศึกษาที่ผู้เรียนมีอยู่หรือได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน แล้วนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชน โดยมีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายและใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้ของคนในชุมชน เนื้อหาสาระมุ่งเน้นในเรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและชุมชน เช่น ประชาธิปไตย สิ่งแวดล้อม วิสาหกิจชุมชน การพัฒนาที่ยั่งยืน ความสงบสุขในสังคม เป็นต้น

 

 

 

การสร้างและส่งเสริมระบบการประกันคุณภาพ

และมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

 

นโยบาย

                                เร่งรัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษานอกโรงเรียน และมีระบบการรับรองมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  เพื่อเป็นการกำกับและดูแล มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นที่ยอมรับของสังคม

 

กรอบแนวคิด

                              ให้หน่วยงาน/สถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) .. 2545 หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา

 

เป้าหมายสาธารณะ

                                1. เป้าหมายเชิงปริมาณ

                                                1.1 สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนทุกแห่ง มีระบบการประกันคุณภาพภายใน

                                2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ

                                                2.1 ความพึงพอใจของผู้รับบริการ

                                                2.2 ผลงานวิจัยและประเมินผลระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษานอกโรงเรียน

                                                2.3 แนวคิดกระบวนการจัดระบบการรับรองมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

 

แนวทางและมาตรการ

                                1. จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษานอกโรงเรียนโดย

                                                1.1 จัดทำมาตรฐานกลาง คู่มือการประกันคุณภาพและฝึกอบรมการประกัน

คุณภาพภายในสถานศึกษา

                                                1.2 วิจัยและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

                                                1.3  จัดทำระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

                                                1.4 กำกับ ติดตามและส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาสามารถดำเนินการ

จัดทำระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

                                2. วิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้กรอบแนวคิดและกรอบการดำเนินงานระบบการ

รับรองมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

                1. องค์คณะบุคคลที่รับผิดชอบการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน

                2. มาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียนกลางเพื่อการประกันคุณภาพ

                3. คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษานอกโรงเรียน

                4. สถานศึกษามีแผน มีขั้นตอนการดำเนินงาน และมีรายงานการประเมินตนเอง

                5. การประกาศผลการดำเนินงานของหน่วยงานสถานศึกษาต่อสาธารณะ

                6. จำนวนสถานศึกษาที่มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

                7. กรอบการดำเนินงานระบบการรับรองมาตรฐานการศึกษาระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

แนวทางและมาตรการ

                                1. การศึกษาพื้นฐาน

                                                1.1  พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถและมีทักษะในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้จากกระบวนการคิด การทำ การจำ การแก้ปัญหาและพัฒนา จนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยให้ความสำคัญกับจิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ใหญ่

                                                1.2   พัฒนาหลักสูตรการจัดการศึกษาพื้นฐานสำหรับกลุ่มเป้าหมายนอก          โรงเรียน และกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพและความจำเป็นในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนความต้องการของประชาชน  ประกอบด้วย

                                                                1.2.1  หลักสูตรการศึกษาพื้นฐานสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น    ชาวไทยภูเขา เด็กในสถานพินิจ

                                                                1.2.2  หลักสูตรประกาศนียบัตรอาชีพ (ปอ.)

                                                                1.2.3  หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

                                                1.3  จัดระบบการศึกษาทางไกลเพื่อเป็นทางเลือกให้กับกลุ่มเป้าหมายทั้งภายในและต่างประเทศ ให้สามารถเรียนรู้จากสื่อทางไกลและสื่ออื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย พร้อมทั้งจัดให้มีการพบกลุ่มหรือสอนเสริมอย่างเป็นระบบ

                                                1.4   แสวงหาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้และบูรณาการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานและองค์กรทุกภาคส่วน

                                                1.5  ผลิต จัดหาและพัฒนาสื่อการศึกษาที่มีคุณภาพและให้บริการกลุ่มเป้าหมายอย่างกว้างขวางและทั่วถึง

                                                1.6  พัฒนากระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีการพบกลุ่มที่เน้นกระบวนการกลุ่ม การเรียนรู้ต่อเนื่อง การทำโครงงาน การบูรณาการเนื้อหา และพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลทั้งด้านความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม ด้วยวิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริง

                                                1.7 พัฒนาระบบการเทียบระดับการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

                                                1.8 พัฒนาระบบการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบระดับชาติ

                                                1.9 จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อให้ประชาชนคงสภาพการรู้หนังสือ

                                2. การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

                                                2.1 การพัฒนาทักษะอาชีพ ให้เร่งรัดสำรวจทรัพยากร ภูมิปัญญาท้องถิ่นอาชีพและความต้องการของผู้เรียน โดยศึกษาวิเคราะห์ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อฝึกทักษะอาชีพ ในลักษณะหลักสูตรอาชีพระยะสั้นที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานในอาชีพ รวมทั้งจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าสู่อาชีพได้ ในอันที่จะเป็นการแก้ปัญหาความยากจนและสร้างความมั่นคงให้กับประชาชนในพื้นที่ชายแดน

                                                2.2 การพัฒนาอาชีพ ให้จัดกิจกรรมในลักษณะของกลุ่มพัฒนาอาชีพ กพอ.ที่เกิดจากการรวมกลุ่มกันของผู้ที่มีอาชีพประเภทเดียวกันและต้องการพัฒนาอาชีพให้ดียิ่งขึ้น  การเรียนรู้ให้ใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนการแสวงหาความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน รวมทั้งร่วมกับกลุ่มระดมทุนและทรัพยากรจากชุมชนในการพัฒนาอาชีพ เช่น การระดมทุนจาก     กองทุนหมู่บ้าน

                                                2.3 การพัฒนาอาชีพด้วยเทคโนโลยี ให้จัดและส่งเสริมกลุ่มพัฒนาอาชีพด้วยเทคโนโลยี โดยเน้นการผลิต  การบริหารจัดการ ปริมาณ คุณภาพ การบรรจุ การตลาด ให้กับกลุ่มเป้าหมายและผู้ต้องการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนากิจการและพัฒนาศักยภาพของตนเอง

                                3. การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

                                                3.1 จัดการศึกษาที่เน้นเนื้อหาในด้านภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่นๆ ที่จำเป็น การพัฒนาสุขภาพอนามัย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน วิถีประชาธิปไตย ศิลปวัฒนธรรม คุณธรรรม จริยธรรม ค่านิยม และการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน โดยให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความจำเป็นและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

                                                3.2 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ตามความเหมาะสมของเนื้อหาและบริบทของพื้นที่  เช่น กิจกรรมค่าย กลุ่มสนใจ การฝึกอบรม การสัมมนา การจัดเวทีเรียนรู้

                                                3.3 พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้และทักษะในการวิเคราะห์เนื้อหาและการจัดกิจกรรมที่เป็นกระบวนการ

                                                3.4 วิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมทักษะชีวิตให้หลากหลายและมี      คุณภาพมากขึ้น

                                                3.5 ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ความ   จำเป็น   รวมทั้งสามารถออกแบบและจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                                4. การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

                                                4.1 เร่งรัด ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาชุมชน          ทั่วประเทศ โดยให้สามารถเชื่อมโยง ประสาน และเกื้อกูลกับชุมชนอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                                                4.2 ดำเนินการจัดประชุม และประสานงานระหว่างบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ     ที่จะต้องเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานตามแผนแม่บทการพัฒนาชุมชน โดยมีระดับจังหวัดเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

                                                4.3 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดและพัฒนาสื่อทุกรูปแบบเพื่อการจัดระบบ          การเรียนรู้ตลอดชีวิตในการพัฒนาชีวิตและสังคม รวมทั้งด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสังคมศึกษา และอาชีวศึกษา

                                                4.4  กระตุ้น ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพ วิชาการ และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อการพัฒนาสังคมและชุมชน รวมทั้งการพัฒนาและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อชีวิตและชุมชน

                                                4.5 พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการจัดกิจกรรมประชาธิปไตย และ  กิจกรรมพัฒนาในชุมชน ท้องถิ่นทั่วประเทศ เช่น การจัดค่ายประชาธิปไตย การบริหารกองทุนหมู่บ้าน การดำเนินการตามกระบวนการประชารัฐ  การจัดเวทีชาวบ้าน

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

                1.  เชิงปริมาณ

                                1.1 จำนวนผู้ลงทะเบียนเรียน

                                1.2 จำนวนผู้สำเร็จในแต่ละหลักสูตร

                                1.3 จำนวนผู้มารับการเทียบระดับ

                                1.4 จำนวนกลุ่มพัฒนาอาชีพ

                                1.5 จำนวนชุมชนที่สามารถจัดทำแผนแม่บทของชุมชนได้

                                1.6 จำนวนสื่อของแต่ละกิจกรรม

                                1.7 จำนวนบุคลากรที่ได้รับการพัฒนา

                                1.8 จำนวนหลักสูตรที่ได้รับการพัฒนา

               

 

2. เชิงคุณภาพ

                                2.1 ความพึงพอใจของผู้เรียนหรือผู้มีส่วนร่วมในแต่ละกิจกรรม

                                2.2 การเข้าสู่อาชีพและการมีงานทำของผู้เรียน

                                2.3 ความพึงพอใจและการยอมรับของผู้ว่าจ้างงานหรือผู้เกี่ยวข้อง

                                2.4 ประโยชน์ที่ผู้รับบริการได้รับ

 

แนวทางและมาตรการ

                1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน

                                ส่งเสริมให้ชุมชนศึกษาความต้องการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันสร้าง      กลไกกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาและทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนตามหลักการพึ่งพาตนเอง โดยมีแนวทางและมาตรการการดำเนินงาน ดังนี้

                                1.1 ส่งเสริมการจัดทำแผนชุมชน

                                                1.1.1 จัดทำเวทีชาวบ้าน

                                                1.1.2 ส่งเสริม สนับสนุนให้ชาวบ้านทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในชุมชน

                                                         ของตนเอง

                                                1.1.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน

                                                                1.1.3.1 ส่งเสริมให้มีวิทยากรกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน

                                                                1.1.3.2 สนับสนุนกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ เช่น การศึกษาดูงาน การฝึกอบรม เป็นต้น

                                                                1.1.3.3 ส่งเสริม สนับสนุน กระตุ้นและสร้างกลไกเพื่อฝึกนิสัยใฝ่รู้ให้กับประชาชน

                                1.2 ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                                                ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเรียนรู้ได้ตามความต้องการ   โดยมีแนวทางและมาตรการการดำเนินงาน ดังนี้

                                                1.2.1 ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งข้อมูลชุมชน

                                                                1.2.1.1 ส่งเสริมการพัฒนาระบบข้อมูลชุมชนให้สมบูรณ์และทันสมัย

                                                                1.2.1.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการแสวงหาและนำเทคโนโลยี          สารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลและการเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศ

                                                                1.2.1.3 ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และให้บริการข้อมูลชุมชนเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา

                                                1.2.2 ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                                                                1.2.2.1 สำรวจ รวบรวมและจัดทำทำเนียบแหล่งการเรียนรู้

                                                                1.2.2.2 กระตุ้นและสร้างความตระหนักให้ชุมชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของแหล่งการเรียนรู้

                                                                1.2.2.3 พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชนให้มีศักยภาพในการจัด

ถ่ายทอดการเรียนรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพ

                                                                1.2.2.4 จัดและสนับสนุนให้แหล่งการเรียนรู้มีสื่อและเทคโนโลยีเพื่อให้บริการการเรียนรู้อย่างพอเพียง

                                                                1.2.2.5 ร่วมกับแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ในการพัฒนาและจัดทำเกณฑ์

มาตรฐานของแหล่งการเรียนรู้แต่ละประเภท

                                                1.2.3 ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้

                                                                1.2.3.1 ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้แต่ละประเภท

                                                                1.2.3.2 จัดหาและพัฒนาบุคลากรเพื่อจัดกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้

                                                                1.2.3.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแหล่ง

การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

                                                                1.2.3.4 ส่งเสริม จัดทำเกณฑ์และวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

จากแหล่งการเรียนรู้

                                1.3 การให้บริการทางวิชาการสู่ชุมชน

                                                จัด ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความใฝ่รู้และจิตใจแห่งการวิจัย  เช่น การวิจัยและพัฒนาระดับชุมชน การเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อที่หลากหลาย และการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้  โดยมีแนวทางและมาตรการการดำเนินงาน ดังนี้

                                                1.3.1 ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนและมี จิตใจแห่งการวิจัย

                                                                1.3.1.1 กระตุ้นให้ชุมชนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการทำวิจัย

ในระดับชุมชน และมีจิตใจแห่งการวิจัย

                                            1.3.1.2 จัดและสนับสนุนให้ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถทำวิจัยชุมชนง่าย ๆ

                                            1.3.1.3 ส่งเสริมและสนับสนุนการนำผลการวิจัยของชุมชนไปใช้ประโยชน์เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน

                                                                1.3.1.4 จัดหาแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยของชุมชน

                                               

1.3.2 เผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน

                                                                1.3.2.1 จัด สนับสนุนให้ชุมชนได้รับความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการและวิถีชีวิตในรูปแบบต่าง ๆ  เช่น การฝึกอบรม ประชุมสัมมนา ศึกษาดูงาน เป็นต้น

                                                                1.3.2.2 จัดและพัฒนาเนื้อหา รูปแบบ วิธีการ ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ที่เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับประชาชน

                                                                1.3.2.3 กระตุ้น ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                                                                1.3.2.4 ส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อในรูปแบบที่หลากหลาย

                                                1.3.3 สร้างเครือข่ายการเรียนรู้

                                                                1.3.3.1 สร้างภาคีความร่วมมือในการจัดกระบวนการเรียนรู้ และการบริการทางวิชาการ

                                                                1.3.3.2 จัดทำทำเนียบเครือข่ายเพื่อสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้จาก

ภายนอกชุมชน

                                                                1.3.3.3 สร้างและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอก     ชุมชน

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

                1. กระบวนการเรียนรู้ในชุมชน

                                1.1 แผนชุมชน

                                1.2 จำนวนวิทยากรกระบวนการเรียนรู้

                                1.3 จำนวนหลักสูตรและกระบวนการศึกษา

2.แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                                2.1 แหล่งข้อมูลชุมชน

                                2.2 แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ได้รับการพัฒนา

                                2.3 เกณฑ์มาตรฐานแหล่งการเรียนรู้

                                2.4 รูปแบบ กิจกรรมการเรียนรู้ของแหล่งการเรียนรู้

                                2.5 เกณฑ์และวิธีการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมแหล่งการเรียนรู้

                3. การบริการวิชาการ

                                3.1 ความสนใจใฝ่รู้ของชุมชน

                                3.2 ผลการวิจัยของชุมชน

                                3.3 จำนวนภาคีเครือข่ายในการประสานการดำเนินงานของชุมชน

การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ

เพื่อเติมปัญญาให้สังคม

 

นโยบาย

                จัด ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน รวมทั้งพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการให้บริการทางวิชาการเพื่อเติมปัญญาให้สังคม

 

กรอบความคิด

                ประชาชนทุกคนมีพลังแห่งปัญญา ศักยภาพในการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและชุมชนเพื่อให้เป็นสังคมแห่งความรู้และการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

เป้าหมายสาธารณะ

                1. เชิงปริมาณ

                                1.1 มีการจัดทำแผนชุมชนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้

                                1.2 มีแหล่งข้อมูลชุมชนทุกตำบล

                                1.3 มีแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกตำบล

                2. เชิงคุณภาพ

                                2.1 ชุมชนสามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาได้

                                2.2 ชุมชนสามารถใช้แหล่งข้อมูลชุมชนและแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน

                                2.3 ชุมชนสามารถใช้กระบวนการวิจัยพื้นฐาน บริการวิชาการ และเครือข่าย

การเรียนรู้ในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

 

แนวทางและมาตรการ

                                1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน

                                                ส่งเสริมให้ชุมชนศึกษาความต้องการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันสร้างกลไกกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาและทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนตามหลักการพึ่งพาตนเอง

                                                1.1 ส่งเสริมการจัดทำแผนชุมชน

                                                                1.1.1 จัดทำเวทีชาวบ้าน

                                                                1.1.2 ส่งเสริม สนับสนุนให้ชาวบ้านทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในชุมชน

                                                1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน

                                2. ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                                                ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเรียนรู้ได้ตามความต้องการ   โดยมีแนวทางและมาตรการการดำเนินงาน ดังนี้

                                                2.1 ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งข้อมูลชุมชน

                                                                2.1.1 ส่งเสริมการพัฒนาระบบข้อมูลชุมชนให้สมบูรณ์และทันสมัย

                                                                2.1.3 ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่และให้บริการข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนา

                                                2.2 ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                                                                2.2.1 สำรวจ รวบรวมและจัดทำทำเนียบแหล่งการเรียนรู้

                                                                2.2.2 กระตุ้นและสร้างความตระหนักให้ชุมชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของแหล่งการเรียนรู้

                                                                2.2.3 พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชนให้มีศักยภาพในการจัด

ถ่ายทอดการเรียนรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพ

                                                2.3 ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้

                                                                2.3.1 ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้แต่ละประเภท

                                                                2.3.2 จัดหาและพัฒนาบุคลากรเพื่อจัดกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้

                                                                2.3.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแหล่ง

การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

                                                                2.3.4 ส่งเสริม จัดทำเกณฑ์และวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

จากแหล่งการเรียนรู้

                                3. การให้บริการทางวิชาการสู่ชุมชน

                                                จัด ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความใฝ่รู้และจิตใจแห่งการวิจัย  เช่น การวิจัยและพัฒนาระดับชุมชน การเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อที่หลากหลาย และการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ 

 

 

 

 

 

 

 

                                 วิสัยทัศน์

 

 

ห้องสมุดประชาชน  เฉลิมราชกุมารี  อำเภอท่าตูม    ต้องเป็นศูนย์กลางข้อมูลเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน  จัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ  พร้อมทั้งบริการที่ทันสมัยและก้าวทันต่อเทคโนโลยีใน         ปี  2550

 

 

พันธกิจ

           

 

 

1.  จัดและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัยต่อเนื่องตลอดชีวิต

2. จัดหาและเผยแพร่ให้บริการสื่อ  สารสนเทศที่ทันสมัยตรงตามความต้องการของชุมชน

3.  ส่งเสริมการจัดกิจกรรมให้ห้องสมุดมีชีวิติชีวา

4.  รวบรวมและจัดระบบข้อมูลท้องถิ่นเพื่อเป็นศูนย์กลางการให้บริการข้อมูลชุมชน

5.  สนับสนุนและประสานให้มีแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนทุกระดับ

6.  จัดระบบกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงาน

 

 

ŒŒŒŒŒŒŒŒŒ

 

 

 

 

 

 

ลักษณะงานห้องสมุดประชาชน  “เฉลิมราชกุมารี”  อำเภอท่าตูม

 

กล่องข้อความ: งานบริหารห้องสมุด กล่องข้อความ: งานเทคนิคห้องสมุดสมุด
 

 

 


งานบริหาร

 


ผู้บริการ

 

 

กล่องข้อความ: งานวิชาการห้องสมุด
กล่องข้อความ: งานกิจกรรมห้องสมุด
กล่องข้อความ: ผู้รับบริการ
                e   ความรู้         e   ดี
            e   เก่ง                e   มีความสุข
 

 

 

 

 

 

 


 

                  สู่

 

กล่องข้อความ: วิสัยทัศน์
ห้องสมุดประชาชน  “เฉลิมราชกุมารี”  อำเภอท่าตูม  ต้องเป็นศูนย์กลางข้อมูล                  เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน  จัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ  พร้อมทั้งบริการที่ทันสมัย               และก้าวทันต่อเทคโนโลยี   ในปี  2550
 

 

 

 


ประวัติอำเภอท่าตูม

 

แผนงานห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอท่าตูม

ประจำปีงบประมาณ  2548

 

 

งาน/โครงการ

ระยะเวลาที่ปฏิบัติ

หมาย

เหตุ

ต.ค

พ.ย

ธ.ค

ม.ค

ก.พ

มี.ค

เม.ย

พ.ค

มิ.ย

ก.ค

ส.ค

ก.ย

1. สำรวจความต้องการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. ประชุมวางนโยบายและ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนการดำเนินงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3. งานห้องสมุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4. ทำเรื่องขออนุมัติบอกรับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วารสารและหนังสือพิมพ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5. ประชาสัมพันธ์การเป็น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สมาชิกและรับสมาชิก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6. บริการยืม - คืน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

7. พิจารณาคัดเลือกและ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ดำเนินการจัดซื้อหนังสือ/สื่อ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8.เขียนโครงการขออนุมัติ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

9.จัดกิจกรรมตามแผนงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดกิจกรรม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

10.สำรวจหนังสือ/สื่อและ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขออนุมัติจำหน่าย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

11.สรุป/ประเมินผลการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปฏิบัติงานห้องสมุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การดำเนินงานตามแผนจัดกิจกรรมและแผนพัฒนาปรับปรุงห้องสมุด

 

งานที่ปฏิบัติ

ระยะเวลาดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

แผนการจัดกิจกรรมในปีงบประมาณ  2548  ตามโครงการดังนี้  

1.  โครงการจัดนิทรรศการวันสำคัญ

2.  โครงการ  5  ธันวา  พ่อของแผ่นดิน 

3.  โครงการวันเด็กแห่งชาติ

4. โครงการส่งเสริมการอ่านสำหรับประชาชน

5. โครงการบริการยืม  หนังสือผ่านโทรศัพท์

6. โครงการเรียนรู้ตามอัธยาศัยสู่อาชีพ

7. โครงการรักการอ่านเฉลิมพระเกียรติมหาราชินี  (วันแม่)

8.  โครงการประชาสัมพันธ์ห้องสมุด

9 โครงการห้องสมุดเคลื่อนที่

10. โครงการสานฝันคนรักการอ่าน

11. โครงการรักอ่านสู่ชนบท

12.โครงการ รักอ่านรักเขียน  เรียนรู้ธรรมชาติ

 

แผนพัฒนาและปรับปรุงห้องสมุด

1. โครงการจัดทำห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์

2.  โครงการปรับปรุงตกแต่งห้องสมุดประชาชนภายในและภายนอกห้องสมุด

3. โครงการบริการเครื่องดื่ม

4. โครงการปรับปรุงมุมแห่งการเรียนรู้

5.โครงการบรรณารักษ์อาสา

 

 

 

ต.ค.47 - ก.ย.48

1 - 10 ธ.ค.47

1 - 10 ม.ค.48

29 ม.ค.- 8 เม.ย.48

ม.ค.48 - ก.ย.48

ก.พ.48 -  ก.ย.48

5 - 15 ส.ค. 48

 

ต.ค. 47 -  ก.ย. 48

ม.ค. -  ก.ย. 48

ม.ค. -  ก.ย. 48

ม.ค. -  ก.ย. 48

พ.ค. 48

 

 

มิ.ย.. -  ก.ย. 48

ม.ค. -  ก.ย. 48

 

มิ.ย. -  ก.ย. 48

มี.ค. -  ก.ค. 48

ม.ค. -  ก.ย. 48

 

บรรณารักษ์และคณะ

 

 

 

 

ประวัติอำเภอท่าตูม

 

                ชุมชนอำเภอท่าตูม  เป็นชุมชนเก่าแก่ตั้งเดิม ตั้งแต่ปลายสมัยเจนละ  (ยุคศตวรรษที่  12-13) ที่มีการปกครองที่  อิสานปุระ  (สุรินทร์)  เมื่อรัฐสมัยของพระเจ้าชัยวรมัน ที่  2  ประกาศลัทธิเทวราชา  และสถาปนาอาณาจักรอังกอร์ ได้มีการปกครองออกไปอย่างกว้างขวาง จากการนับถือเทวนิยมดังกล่าวจะมีการสร้างเทวสถานในการประกอบพิธี  และปราสาทที่พำนักของผู้แสวงบุญทั่วไป

                ในการไปมาหาสู่ระหว่างเมืองสำคัญต่าง ๆ ในสมันนั้นจะติดต่อกันทั้งในทางบกและทางน้ำซึ่งเป็นไปในรูปแบบของการส่งส่วย  ส่งเครื่องราชบรรณาการ  การแลกเปลี่ยนผลิตผลการค้าขาย  ตลอดจนการยกกองทัพไปรบ  การติดต่อระหว่างเมืองในแดนอีสานตอนล่าง  จึงเป็นทางเรือเป็นส่วนใหญ่ซึ่งในการล่องเรือดังกล่าวตาม  แม่น้ำนั้นจะมีการติดต่อทางด้านนครจำปาสัก ปากเซและฝั่งแม่น้ำโขง           (เจนละบก)  และทางด้านนครธม  นครวัด  กำปงจาม   กำปงฉบังมาตามลำน้ำ  เพื่อติดต่ออาณาจักรพิมาย    จากการเดินทางรอนแรมมาถึงที่ตังบริเวณอำเภอ ท่าตูม  ในปัจจุบัน  จึงได้ตั้งค่ายพักแรมและสร้างเป็นที่พักชั่วคราว  และเรียกที่พักแรมนี้ว่า  กำปวงสวาย (ท่ามะม่วง) 

                ชุมชนกำปวงสวาย  ได้ดำรงอยู่เรื่อยมาแม้ว่าเมื่ออาณาจักรเจนละและขอมโบราณ  จะเสื่อมอำนาจลง จนเมื่อรัชสมันรัชกาลที่  2,3  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ได้มีการพุ่งรบกัน ระหว่างไทยกับกัมพูชาอีก ไทยได้อพยพชาวกัมพูชาบางส่วนเข้ามาในประเทศไทย  ชาวกัมพูชาที่มีเชื้อสายเดิม  ก็ได้อพยพมาอยู่ในชุมชนกำปงสวาย  และได้

เปลี่ยนมาเป็น “พงสวาย” ในปัจจุบัน  (หมู่ที่ 13  ตำบลท่าตูม)

                ประมาณปีพ.ศ. 2330  อำเภอท่าตูม  ได้มีการอพยพมาบริเวณบริเวณปากน้ำมูลและแม่น้ำชีมาบรรจบกันโดย    ชาวกูย  (ส่วย)  ซึ่งอพยพมาจากแคว้นพนมดงรักเป็นพวกที่รักสงบ  รักธรรมชาติ            มีความชำนาญในการเลี้ยงช้าง   และการเกษตร  เห็นว่าบริเวณดังกล่าวมีต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นอาหารของช้างมาก  มีทำเลเลี้ยงช้างเหมาะสม  จึงได้อพยพมาอาศัยอยู่บริเวณนั้น  และเรียกบริเวณนั้นว่า  “กระโพ”(ตำบลกระโพ)  ในปัจจุบัน 

                ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5  อำเภอท่าตูม  ได้ยกขึ้นเป็นอำเภอสุรพิน  และขึ้นอยู่กับเจ้าเมืองขุขันธ์                ปี  พ.ศ. 2452  เห็นว่าการให้อำเภอสุรพิน ขึ้นอยู่กับเจ้าเมืองขุขันธ์นั้น  มีระยะทางไกลมาก  สร้างความลำบากให้แก่ราษฎรไปติดต่อราชการ  จึงได้พิจารณาให้อำเภอสุรพินมาขึ้นต่อเจ้าเมืองสุรินทร์

                และเปลี่ยนเป็นอุดรสุรินทร์  ในปี  2454  ครั้งแรกให้ขึ้นอยู่กับอำเภอเมืองสุรอนทร์  มีหลวงแพ่งเป็นนายอำเภอคนแรก  ต่อมาปี  2456  ได้มีการตั้งอำเภออุดรสุรินทร์  บริเวณริมฝั่งแม่น้ำมูล  บ้านกำปวงสวาย  แล้วเสร็จเมื่อ  พ.ศ.  2465 ขุน  สุรสิทธิ์  สาราการ (พิน จรัญญานนท์)  ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายอำเภอคนแรก  เมื่อเทศาภิบาล ได้ตรวจงานอำเภอและชมวิวทิวทัศน์ในแม่น้ำที่แพหน้าที่ว่าการอำเภอได้พลาดตกน้ำเสียงดัง  ตูม  ชาวบ้านจึงเรียกท่าแห่งนั้นว่า  ท่าตูม  และเนื่องจากท่าแห่งนั้นเป็นที่ตั้งอำเภอด้วย  จึงเรียกที่ว่าการอำเภอท่าตูมมาจนติดปาก  ติดต่อมาสมัยสงครามเอเซียบูรพา  (2498) ทางราชการมีคำสั่งให้อำเภอจัดทำสนามบินฉุกเฉิน  อำเภอได้แผ้วถางที่สารธารณะ  หมู่ที่  7  ตำบลท่าตูมเป็นสนามบิน  หลังจากสิ้นสงครามทางคระกรรมการอำเภอเห็นว่า  ที่ว่าการอำเภอดั้งเดิมอยู่กลางชุมชนมีความแออัดคับแคบ ขยายส่วนราชการต่าง ๆ ไม่ได้  จึงย้ายมาตั้งที่สนามบิน  (บริเวณอำเภอปัจจุบัน)  และเนื่องจากการเรียกกันจนติดปากว่าอำเภอท่าตูม  จึงได้เปลี่ยนชื่อ  จากอำเภออุดรสุรินทร์  มาเป็นอำเภอท่าตูม

 

ภูมิประเทศ

                อำเภอท่าตูม  มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและที่ราบลุ่ม  โดยที่สูง  ได้แก่  บริเวณทางทิศใต้ของอำเภอ(ฝั่งซ้ายของแม่น้ำมูล)  เป็นที่ราบสูงจากฝั่งแม่น้ำมูล  จนถึงเขาพนมดิน สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย  ไม่อุ้มน้ำ  ทิศเหนือฝั่งขวาแม่น้ำมูลจะเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง  และที่ราบทุ่งกุลา  ซึ่งเป็นที่ราบเรียบในพื้นที่  3 ตำบล  ได้แก่  ตำบลทุ่งกุลา  ตำบลพรมเทพ  และตำบลโพนครก

                อำเภอท่าตูม มีแม่น้ำและลำน้ำที่สำคัญไหลผ่าน  ได้แก่

1. แม่น้ำมูล  ไหลผ่านอำเภอท่าตูม  จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก

2. แม่น้ำชี  ไหลผ่านอำเภอท่าตูมจากทิศตะวันตกไปบรรจบแม่น้ำมูลที่ตำบลกระโพ

3. ลำพลับพลา  ไหลผ่านทางทิศเหนอของอำเภอในเขตตำบลทุ่งกุลาไปทางทิศตะวันออกไปบรรจบแม่น้ำมูลที่ตำบลโพนครก

 

พื้นที่ใช้ประโยชน์

        อำเภอท่าตูม  พื้นที่ส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์ในการเกษตร  ได้แก่  การทำนา  การเลี้ยงสัตว์

สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์

อำเภอท่าตูม  ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ  ของจังหวัดสุรินทร์ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุรินทร์              52 กิโลเมตร  ตามเส้นทางหลวงแผ่นดิน 

พื้นที่                      มีพื้นที่  714  ตารางกิโลเมตร  หรือ  446,250  ไร่ 

อาณาเขตติดต่อดังนี้

                ทิศเหนือ               ติดต่ออำเภอเกษตรวิสัยและอำเภอสุวรรณภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด

                ทิศใต้                     ติดต่ออำเภอจอมพระ  จังหวัดสุรินทร์

                ทิศตะวันออก       ติดต่ออำเภอรัตนบุรี  และอำเภอสนมจังหวัดสุรินทร์

                ทิศตะวันตก         ติดต่ออำเภอชุมพลบุรี  จังหวัดสุรินทร์  และอำเภอสตึก  จังหวัดบุรีรัมย์

 

 

 

 

                    ประวัติความเป็นมา

           

กรมการศึกษานอกโรงเรียน   ได้ประกาศจัดตั้งห้องสมุด  อำเภอท่าตูม  ตั้งแต่ปี  2500  โดยในระยะแรกไม่มีอาคารห้องสมุดเป็นเอกเทศถาวร  ได้ขออนุญาตใช้อาคารของสำนักงานสาธารณสุข

อำเภอเป็นที่ตั้งของห้องสมุดและเปิดให้บริการตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2500  เป็นต้นมา

                        ต่อมา  พ.ศ. 2538   จังหวัดสุรินทร์ได้อนุมัติให้  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสุรินทร์  จัดสร้างห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารีอำเภอท่าตูม  เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  ในมหามงคลวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ   50  ปี ขึ้นเป็นแห่งที่ 3 ของจังหวัดสุรินทร์  โดยจัดการสร้างที่อำเภอท่าตูม

 

                  ผลการดำเนินงาน

       

พื้นที่ก่อสร้าง  ได้ขอใช้พื้นที่ในการก่อสร้างอาคารจากโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์          สังกัดกรมสามัญศึกษา   ซึ่งครอบครองที่ราชพัสดุ  แปลงหมายเลขที่  สรง  796  ตั้งอยู่ที่  ถนนปัทมานนท์  ตำบลท่าตูม  อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์  มีพื้นที่จำนวน  2  งาน ตัวอาคารจัดสร้างตามแบบมาตรฐาน  เป็นอาคาร  2  ชั้น  ได้ดำเนินการสร้าง  อาคารห้องสมุดประชาชน

“เฉลิมราชกุมารี”  อำเภอท่าตูม  จังหวัดสุรินทร์  แบบแปลนขยายข้าง

        งบประมาณ  ได้จัดหางบประมาณเพื่อดำเนินการสร้าง  จากการบริจาคของประชาชนโดยไม่ได้อาศัยงบประมารจากทางราชการแต่อย่างใด  โดยมีรายการดังนี้

1. จากการทอดผ้าป่าจำนวน  3  ครั้ง  เป็นเงิน  563,072  บาท

2. จากการเช่าบูชาเหรียญ  “หลวงปู่ธรรมรังษี”  รุ่นสุริยุปราคาเต็มดวง  (ตะวันดับ)  เป็นเงิน    653,550  บาท

3. จากการอุปถัมภ์โครงการ  แยกเป็น

1.  บริษัทประกันชีวิต                                 จำนวน         1,000,000     บาท

2.  นายฮุย  รังกูลนุวัฒน์                                       จำนวน         100,000         บาท

3.  นายอุทัยพันธ์  และนางวรรณพร สวงเสริมศรี จำนวน                   350,000          บาท

4.   นายพิศาล มูลสาสตร์สาทร                         จำนวน         100,000          บาท

5.  บริษัทเทเลคอมเอเซีย  จำกัด                        จำนวน         30,000          บาท

6.  ผู้บริจาครายละ 20,000  บาท จำนวน 5  ราย                   จำนวน                    60,000          บาท

7.  ผู้บริจาครายละ  10,000  บาท  จำนวน  104  ราย        จำนวน         1,040,000      บาท 

                                                        รวมทั้งสิ้น                     3,942,622      บาท

พิธีเปิดห้องสมุดประชาชน เฉลิมราชกุมารี  อำเภอท่าตูม  จังหวัดสุรินทร์                                             โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี  ในวันศุกร์  ที  23  มิถุนายน  2543

บริเวณมุมในห้องประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”  อำเภอท่าตูม

 

ห้องเฉลิมพระเกียรติ

          หัวใจของห้องสมุดประชาชน  “àฉลิมราชกุมารี  คือห้องเฉลิมพระเกียนติ  ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอพระราชประวัติ พระราชปรีชาญาณ  และพระมหากรุณาธิคุณ  ในสมเด็จพระเทพรัตนราชดาฯสยามบรมราชกุมารีที่มีต่อชนชาวไทย

ห้องเทียนส่องทาง

                หนังสือที่จัดบริการประกอบด้วย  หนังสืออ้างอิง  นวนิยาย  สารคดี  และแบบเรียนในระดับชั้นต่าง ๆ โยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษานอกโรงเรียนสามารถยืมหนังสือไปใช้  นอกจากนี้ยังมีหนังสือพิมพ์  และวารสารจัดบริการ พร้อมกฤตภาค  จุลสาร  และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ

ห้องลูกรัก

                จัดรูปแบบให้น่าสนใจ  ตั้งแต่น่าประตู  ซึ่งจำลองบ้านคุณหนู  ภายในจัดบริเวณเฉพาะสำหรับเด้กและครอบครัวด้วยการจัดหนังสือและสื่อนานาชนิดซึ่งมีทั้งสื่อทดลองด้วยตนเองหรือเป็นกลุ่ม  เครื่องเล่นและเครื่อง

สาธิต  ในบริเวณนี้จัดบรรยากาศดึงดูดความสนใจ มีเวทีสำหรับคุณหนู  กระท่อมหลังน้อย  พร้อมจัดที่นั่งอ่านหนังสือ  ที่นั่งเล่น มีบริเวณจัดกิจกรรม ที่เด็กและครอบครัวสามารถมีส่วนร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ

ห้องโลกาภิวัตน์

                เป็นห้องที่มุ่งพัฒนาเป็นศูนย์เทคโนโลยี  ทางการศึกษาของอำเภอกและจังหวัดสุรินทร์  โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะบริการสื่อเพื่อการศึกษาค้นคว้า  เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  เพื่อประกอบการเรียนการสอนทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน  การศึกษาตามอัธยาศัย  และบริการอินเตอร์เน็ต

ห้องธรรมรังษี

                นำเสนอประวัติพระธรรมรังษี  ที่เป็นที่เคารพของชาวอำเภอท่าตูมและจังหวัดสุรินทร์  หนังสือพระไตรปิฎก  รวบรวมหนังสือและเทปธรรมะ โต๊ะหมูบูชา  สมุดสวดมนต์ไหว้พระ  เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าอีกด้วย

ห้องบัวตูม

                ปราสาทนางบัวตูมเรื่องราวของชาวส่วยกับความผูกพันของช้าง  ความเชื่อพิธีกรรมของชาวส่วย ภาพแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์  ภาพวาดนิทานนางบัวตูม  ตำนานอำเภอท่าตูม  หัตถกรรมผ้าไทย            ภูมิปัญญาชาวบ้าน  หมู่บ้านทำข้าวหลาม  หมู่บ้านทำรองเท้า  หมู่บ้านปันหม้อ  และความภูมิใจของชาวอำเภอท่าตูม

 


ชื่อโครงการ :  ห้องสมุดเคลื่อนที่

วัตถุประสงค์    1. เพื่อนำความรู้และข่าวสารไปให้บริการประชาชนในท้องถิ่นที่สนใจได้อย่างทั่วถึง

                2. เพื่อเป็นการสนับสนุนการส่งเสริมการอ่านแก่ประชาชนให้เกิดนิสัยรักการอ่าน

                3. เพื่อให้ประชาชนได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

เป้าหมาย    เชิงคุณภาพ  นักเรียน  นักศึกษา  ประชาชนทั่วไป  จำนวน  100  คน

     เชิงปริมาณ  - นักเรียน  นักศึกษา  และประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่  ที่จัดบริการห้องสมุดเคลื่อนที่

                           - ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่  ในเขตตำบลต่าง ๆ ของอำเภอท่าตูม

 

กิจกรรม

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินการ

พื้นที่

ดำเนินงาน

งบประมาณ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หมายเหตุ

1.  คณะทำงาน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่ห้องสมุด           ครู ศรช.  10  คน    ครูอาสาสมัครฯ  3 คน

โดยครู  ศรช.  ครูอาสาสมัครฯ   แบ่งเป็นโซน

-  โซนเหนือ    ศรช. โพนครก  ศรช.พรมเทพ  ศรช.ทุ่งกุลา

-  โซนกลาง ศรช.ท่าตูม   ศรช.หนองบัว  ศรช.บัวโคก

- โซนใต้  ศรช.เฉลิมพระเกียรติทุ่งโก ศรช.วัดบ้านปรีง ศรช.กระโพ         

2.  ออกบริการในทุกเสาร์ที่ 2 ของเดือน (กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้)

3.  กิจกรรมที่ออกบริการ

-  นำหนังสือวารสาร หนังสือพิมพ์ ชุดเล่นเด็ก ออกบริการ

-  ระบายสี  วาดภาพ

-  เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากห้องสมุดในด้านความรู้และฝึกให้มีนิสัรักการอ่าน

-  เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ข่าวสารที่ทันสมัยอย่างทั่วถึง

-  เพื่อให้ประชาชนได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ต.ค.47-ก.ย.48

ตำบลต่าง ๆ ในเขตพื้นที่     อำเภอท่าตูม

2,000

-  ประชาชนทั่วไปได้รับความรู้ข่าวสารที่ทันสมัย  ทันต่อเหตุการณ์

-  ประชาชนได้รับความรู้  ความเพลิดเพลินในการอ่าน

-  ได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์

 

 

ชื่อโครงการ  : วันเด็กแห่งชาติ

วัตถุประสงค์   1.  เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน  และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

                        2.  เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในการศึกษาเรียนรุ้การใช้ห้องสมุดให้แก่เด็ก ๆ และผู้สนใจ  โดยทั่วไป

                                3.  เพื่อให้เด็กและเยาวชนทุกคน  ตระหนักและเห็นความสำคัญของตนเอง  ในการที่จะเป็นอนาคตที่ดีของชาติ

                                4.  เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออกโดยทางที่ถูกต้อง  โดยเน้นการมีคุณธรรมและจริยธรรม

เป้าหมาย  เชิงปริมาณ     นักเรียน  นักศึกษา  และประชาชนทั่วไปในอำเภอท่าตูม  100  คน

           เชิงคุณภาพ    1.  ประชาชนและเยาวชนในเขตอำเภอท่าตูม

                        2.  กลุ่มเป้าหมายได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  และร่วมกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์  สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำ

        กิจกรรม

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

ระยะเวลา      ดำเนินการ

พื้นที่ดำเนินงาน

งบประมาณ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หมายเหตุ

1.  ประชุมวางแผน

2.  ขอบริจาคสิ่งของจากหน่วยงาน  รัฐวิสาหกิจ  และร้านค้า

3.  กิจกรรมที่จัดได้แก่

- กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  สอยดาว  ตอบปัญหา  ระบายสี

- กิจกรรมนันทนาการ  เกมส์ เหยียบลูกโป่ง  เกมส์เก้าอี้ดนตรี 

- ประกวดร้องเพลง 

- กิจกรรมอื่น ๆ  สมัครสมาชิกฟรี  เด็กอายุ       ตั้งแต่  7  -  15  ปี

-  แนะนำหนังสือเด็ก

-  เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านและรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

-   เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในการศึกษาเรียนรู้การใช้ห้องสมุดให้แก่เด็ก ๆ และผู้สนใจ  โดยทั่วไป

- เพื่อให้เด็กและเยาวชนทุกคน  ตระหนักและเห็นความสำคัญของตนเองในการที่จะเป็นอนาคตที่ดีของชาติ

9 ม.ค. 48

 

ห้องสมุดประชาชน  “เฉลิมราชกุมารี”  อำเภอท่าตูม

3,000

-  ส่งเสริมให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน  และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

- เด็กและเยาวชนเห็นความสำคัญของตนเองในการที่จะเป็นอนาคตที่ดี       ของชาติ

- เด็กและเยาวชนกับผู้ปกครองเกิดความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกัน

 

ชื่อโครงการ : ส่งเสริมการอ่านสำหรับประชาชน

วัตถุประสงค์  1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน  เพื่อแสวงหาความรู้และการเรียนรู้ด้วยตนเอง  สามารถนำความรู้ข่าวสารไปใช้ในการประกอบอาชีพ

         2. เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ครอบครัว  ชุมชน หน่วยงานองค์กรภาครัฐ  เอกชน  มีส่วนดำเนินการส่งเสริมการอ่านสำหรับประชาชน

         3. เพื่อพัฒนาแนวคิดการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ใช้เป็นแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมการอ่านอย่างเป็นรูป

เป้าหมาย :  เชิงปริมาณ     นักเรียน  นักศึกษา  ประชาชน  จำนวน  100  คน

   : เชิงคุณภาพ 1. ส่งเสริมให้ครอบครัว  ชุมชน  หน่วยงาน  มีส่วนร่วมในการดำเนินการตามโครงการ

                 2.  กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาด้านการอ่านและร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์  สามรถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

        กิจกรรม

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินการ

พื้นที่ดำเนินงาน

งบประมาณ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หมายเหตุ

1.  เตรียมจัดสถานที่บริเวณภายในและภายนอกห้องสมุดเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรม

2.  กิจกรรมที่จัดได้แก่

-  ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

-  กิจกรรมประกวดการอ่านหนังสือ 

-  เล่าเรื่องจากหนังสือที่ตนชอบ

-  นิทรรศการ พระราชประวัติ

 

-  เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน  เพื่อแสวงหาความรู้และการเรียนรู้ด้วยตนเอง  สามารถนำความรู้  ข่าวสารไปใช้ในการประกอบอาชีพ

- เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ครอบครัว  ชุมชน หน่วยงาน  องค์กรภาครัฐ  เอกชน  มีส่วนดำเนินการส่งเสริมการอ่านสำหรับประชาชน

- เพื่อพัฒนาแนวคิดการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน      ใช้เป็นแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมการอ่านอย่างเป็นรูป

2 เม.ย.48

 

ห้องสมุดประชาชน       “เฉลิมราชกุมารี”  อำเภอท่าตูม

3,000

-  ประชาชนมีนิสัยรักการอ่านและการเรียนด้วยตนเอง  สามารถนำความรู้ที่ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

-  ส่งเสริมให้ครอบครัว  ชุมชน  หน่วยงาน  มีส่วนร่วมในการดำเนินการตามโครงการ

-  ได้แนวคิดการจัดกิจกรรม        ส่งเสริมการอ่าน  ใช้เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมการอ่าน

 

ชื่อโครงการ : รักการอ่านเฉลิมพระเกียรติ  มหาราชินี

วัตถุประสงค์   1. เพื่อให้นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไป  ได้ทราบถึงพระราชประวัติ   พระราชกรณียกิจ  และ

ผลงานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

                        2. เพื่อรณรงค์ให้นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปรักการอ่าน   มีทักษะการเรียนรู้   การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  อันจะเป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

           3. เพื่อส่งเสริมปลูกฝังจิตใจให้นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เพื่อพัฒนาชีวิตของตน

เป้าหมาย : เชิงปริมาณ    นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม  จำนวน   100  คน

              เชิงคุณภาพ     1. นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้รับทราบประวัติ  พระราชกรณียกิจ  ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์   พระบรมราชินีนาถ

                2.  นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไป  ตระหนักถึงการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  และมีนิสัยรักการอ่านมากยิ่งขึ้น

        กิจกรรม

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินการ

พื้นที่ดำเนินงาน

งบประมาณ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ประชาสัมพันธ์ไปยังหน่วยงานต่างๆทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน

-  แผ่นพับ,ใบปลิว,วิทยุ

2.  กิจกรรมที่จัด  ได้แก่

-  ลงนามถวายพระพร

-  นิทรรศการพระราชประวัติ,          พระราชประวัติ 

-  ประกวดการเขียนเรียงความเรื่องแม่ของฉัน

-  ประกวดการอ่านและสรุป

-  เกมส์นันทนาการ  ชมภาพยนตร์

-  นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วม    กิจกรรม  จำนวน   100  คน

-  นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้รับทราบประวัติ  พระราชกรณียกิจ  ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์                พระบรมราชินีนาถ

- ประชาชนมีนิสัยรักการอ่านมากยิ่งขึ้น

12 ส.ค.48

ห้องสมุดประชาชน  “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอท่าตูม

3,000

-  นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้เข้าร่วมการจัดกิจกรรมและการจัดนิทรรศการในห้องสมุด

- นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไป  ให้ความสนใจเกี่ยวกับนิทรรศการพระราชประวัติ  พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ

- นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปมีนิสัยรักการอ่านเพิ่มมากขึ้น

 

ชื่อโครงการ   :  การประชาสัมพันธ์งานห้องสมุด

วัตถุประสงค์

1.  เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์งานการศึกษานอกโรงเรียน

2.  เพื่อบริการข่าวสารข้อมูลที่ทันสมัยกับประชาชนทั่วไป

เป้าหมาย   : เชิงปริมาณ    นักเรียน  นักศึกษา  ประชาชนทั่วไปจำนวน  100  คน

        เชิงคุณภาพ   1.  นักเรียน  นักศึกษา  ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่  ได้รับทราบกิจกรรมกศน.  และกิจกรรมห้องสมุด

                  2.  ประชาชนทั่วไปได้รับข่าวสารที่มีประโยชน์

 

        กิจกรรม

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินการ

พื้นที่ดำเนินงาน

งบประมาณ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รู้ถึงกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้น

2.  โดยประชาสัมพันธ์งาน  เดือนละ  1  ครั้ง

3.   จัดทำแผ่นพับแจกให้แก่หน่วยงานราชการต่าง ๆ ในอำเภอท่าตูม

3.  ขอความอนุเคราะห์หน่วยงานในการประชาสัมพันธ์

-  เพื่อให้ประชาชนที่ได้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนในการศึกษา  ต่าง ๆ

-  เพื่อบริการข่าวสารข้อมูลที่       ทันสมัยกับประชาชนทั่วไป

-  เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์งานให้ประชาชนได้รับรู้ข่าวสารที่ห้องสมุดได้จัดขึ้น

ต.ค.47-ก.ย.48

ห้องสมุดประชาชน      “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอท่าตูม

-

- ประชาชนทั่วไปในอำเภอท่าตูม  และอำเภอใกล้เคียงได้รับความรู้หลากหลายรูปแบบและนำข้อมูลจากห้องสมุดไปเผยแพร่กับชุมชนได้รับทราบต่อไป

 

 

 

 

แผนพัฒนาและปรับปรุงห้องสมุดประชาชน

 

ชื่อโครงการ :  โครงการจัดทำห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์

วัตถุประสงค์

        1.  เพื่อให้ห้องสมุดประชาชนเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์

        2.  เพื่อให้ห้องสมุดประชาชนเป็นแหล่งบริการข่าวสารที่ทันสมัย  มีเทคโนโลยีใหม่

3.  เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน  และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

เป้าหมาย

        เชิงปริมาณ     -  ห้องสมุดประชาชนเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์

        เชิงคุณภาพ     -  ประชาชนได้รับข่าวสารที่ทันสมัย  รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์

                       -  ประชาชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

        กิจกรรม

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินการ

พื้นที่ดำเนินงาน

งบประมาณ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  รจัดซื้อ  จัดหาสื่อ  และวัสดุด้านเทคนโลยี  เช่น อินเตอร์เน็ต  CD-ROM  และหนังสือที่ทันสมัย

2.  จัดป้ายนิทรรศการ  ข่าวสารข้อมูล  ข้อมูล  ที่ทันสมัย

3.  นำหนังสือจัดเป็นนิทรรศการแนะนำหนังสือใหม่

4.  จัดทำบรรณนิทรรศหนังสือใหม่

5.  ให้บริการยืมคืน  ในโปรแกรม Library  2001

-  เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสารที่ทันสมัยจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

- เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็วในการศึกษาหาความรู้

- เพื่อให้ประชาชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ต.ค.47-ก.ย.48

ห้องสมุดประชาชน  “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอท่าตูม

3,000

-  ประชาชนได้รับข่าวสารที่ทันสมัยจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

- ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็วในการศึกษาหาความรู้

- ประชาชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

 

ชื่อโครงการ :  โครงการปรับปรุงตกแต่งห้องสมุดประชาชนภายในและภายนอกห้องสมุด

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ห้องสมุดประชาชนเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้  สำหรับนักเรียน  นักศึกษา  ประชาชนทั่วไป

2. เพื่อพัฒนาปรับปรุงสถานที่ให้เป็นแหล่งบริการข่าวสารข้อมูลที่ทันสมัยมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ

3. เพื่อพัฒนาปรับปรุงประชาชนทั้งภายในและภายนอกอาคารให้มีความสะอาด  สวยงาม  ร่วมรื่น

เป้าหมาย  :  เชิงปริมาณ      ห้องสมุดประชาชนมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม 

                     เชิงคุณภาพ     1.  ห้องสมุดประชาชนเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้  สำหรับนักเรียน  นักศึกษา  ประชาชนทั่วไป

                             2.  ประชาชนได้รับข่าวสารที่ทันสมัย  รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์

        กิจกรรม

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินการ

พื้นที่ดำเนินงาน

งบประมาณ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  ปรับปรุงห้องลูกรักให้สวยงาม  โดยจัดมุมต่าง ๆ ใหม่

2.  ปรับเปลี่ยนมุมต่าง ๆ ตามความเหมาะสม  เช่น มุมวารสาร  มุมสารานุกรม 

3.  ภายนอกห้องสมุดได้จัดตกแต่งต้นไม้ให้มีความสวยงามและร่มรื่น

-  เพื่อให้ห้องสมุดประชาชนเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้

-  เพื่อพัฒนาปรับปรุงสถานที่ให้เป็นแหล่งบริการข่าวสารข้อมูลที่ทันสมัย มีเทคโนโลยีใหม่

-  เพื่อปรับปรุงห้องสมุดประชาชนทั้งภายในและภายนอกห้องสมุดให้มีความร่มรื่นสวยงาม

.. 47  -

.. 48

 

ห้องสมุดประชาชน เฉลิมราชกุมารี อำเภอท่าตูม

10,000

-  ห้องสมุดประชาชน  เป็นแหล่งที่ให้บริการ  การศึกษาหาความรู้  ที่ทันสมัย  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-  ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็วในการศึกษาหาความรู้

 

 

 

 

 

ชื่อโครงการ  :  จัดหาอาสาสมัคร

วัตถุประสงค์

        1.  เพื่อให้นักเรียน  นักศึกษา   ประชาชน  ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

        2.  เพื่อให้นักเรียน  นักศึกษา  ประชาชน  สามารถนำความรู้ที่ได้รับในการทำงานห้องสมุดประชาชนไปใช้ให้เกิดประโยชน์

        3.  เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน  นักศึกษา  ประชาชน  มีวินัยในปฏฺบัติหน้าที่

        4.  เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนนักศึกษา  ประชาชนมีนิสันรักการอ่าน

เป้าหมาย    เชิงปริมาณ      นักศึกษา กศน.ท่าตูม ประชาชนทั่วไป  ที่สนใจ  จำนวน  50   คน 

           เชิงคุณภาพ       1. นักเรียน  นักศึกษา  ประชาชน  ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

                       2. ได้ฝึกปฏิบัติงานร่วมกันตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

                       3. ประชาชนทั่วไปได้รับบริการห้องสมุดที่สะดวก  และรวดเร็ว

        กิจกรรม

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินการ

พื้นที่ดำเนินงาน

งบประมาณ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. รับสมัครอาสาสมัครทำงาน    ห้องสมุด  ระดับ ม.ปลาย

2. ทำความสะอาดบริเวณภายในห้องสมุด  และนำหนังสือขึ้นชั้น

3.  ฝึกปฏิบัติงานตามที่ได้รับ      มอบหมาย  เช่น  ลงทะเบียนหนังสือ  ติดบัตรติดซองติดบาร์โค้ดหนังสือ 

 

1.  เพื่อให้นักเรียน  นักศึกษา   ประชาชน  ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

2. เพื่อให้นักเรียน  นักศึกษา   ประชาชน  สามารถนำความรู้ที่ได้รับในการทำงานห้องสมุดประชาชนไปใช้ให้เกิดประโยชน์

3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน  นักศึกษา  ประชาชน  มีวินัยในปฏิบัติหน้าที่

4. เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนนักศึกษา ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน

ต.ค.47-ก.ย.48

ห้องสมุดประชาชน

เฉลิมราชกุมารี

อำเภอท่าตูม

3,000

-  ประชาชนได้รับบริการข่าวสารอย่างทั่วถึงและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

- ส่งเสริมนิสันรักการอ่าน

- ประชาชนได้ร่วมกันรับผิดชอบในการบริการงานห้องสมุด

 

 

ชื่อโครงการ  : เรียนรู้ตามอัธยาศัยสู่อาชีพ

วัตถุประสงค์

 1. เพื่อให้นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้รับความรู้เกี่ยวกับอาชีพต่างๆ

 2. เพื่อให้นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้

  3. เพื่อให้นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

  4. เพื่อให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่านและรู้จักศึกษาหาความรู้

เป้าหมาย

เชิงปริมาณ   นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมโดยการเรียนรู้ด้วยตนเอง  จำนวน  200  คน/1  เดือน/2   กิจกรรม

เชิงคุณภาพ   นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้รับความรู้และพัฒนาทักษะมากขึ้นรวมทั้งได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

        กิจกรรม

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินการ

พื้นที่ดำเนินงาน

งบประมาณ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  ประชุมบุคลากร  และวิทยากรผู้เกี่ยวข้อง

2. จัดกิจกรรมตามโครงการ

การสอนและสาธิต     เช่น        

 -  การกัดกระจก

-   การทำเทียนเจล 

-  การเพ้นท์แก้ว

-  กรอบรูปวิทยาศาสตร์

3.  สรุปผลการดำเนินงาน

1.   เพื่อให้นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้รับความรู้เกี่ยวกับอาชีพต่างๆ

 2.  เพื่อให้นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้

3.  เพื่อให้นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

4.  เพื่อให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่านและรู้จักศึกษาหาความรู้

.. 47 -.. 48

 

ห้องสมุดประชาชน

เฉลิมราชกุมารี อำเภอท่าตูม

3,000

-  นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปมาใช้บริการศึกษาค้นคว้าในห้องสมุดประชาชน เพิ่มขึ้น

- นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปสามารถนำความรู้ ไปประกอบอาชีพเสริมและอาชีพหลักได้ เพื่อเพิ่มรายได้  

-  นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

 

 

 

ชื่อโครงการ  การบริการยืมหนังสือผ่านโทรศัพท์

วัตถุประสงค์       1.  เพื่อให้บริการในเชิงรุกให้กับ  นักเรียน  นักศึกษา  กศน.  และประชาชนทั่วไป

        2.  เพื่อให้นักเรียน  นักศึกษา  กศน.  และประชาชนทั่วไป  มีนิสัยรักการอ่าน  

        3.  เพื่อให้นักเรียน  นักศึกษา  กศน.  และประชาชนทั่วไป  ตระหนักถึงประโยชน์ของการอ่าน

        4.  เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง ครู  นักศึกษาและชุมชน

เป้าหมาย   เชิงปริมาณ  นักเรียน  นักศึกษา  กศน.  และประชาชนทั่วไป  จำนวน  300  คน

         เชิงคุณภาพ  1.  ผู้เข้ารับบริการมีความรุ้เพิ่มขึ้น  ได้รับข่าวสารและการเปลี่ยนแปลงในเหตุการณ์ปัจจุบัน

                      2.  สร้างนิสัยรักการอ่าน

 

               กิจกรรม

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินการ

พื้นที่ดำเนินงาน

งบประมาณ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  สำรวจกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่  ประชาสัมพันธ์  แผ่นพับ   ป้ายผ้า 

2.  แต่งคณะทำงานส่งหนังสือ  หน่วยงานราชการ  โรงเรียน เป็นต้น

3.  จัดรายการหนังสือที่น่าสนใจและส่งตามหน่วยงานราชการ

4.  ดำเนินการรับสมัครสมาชิกในเขตพื้นที่บริการ

5.  เปิดบริการให้ยืมหนังสือผ่านหมายเลขโทรศัพท์ 

1.   เพื่อให้นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้รับความรู้เกี่ยวกับอาชีพต่างๆ

 2.  เพื่อให้นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้

3.  เพื่อให้นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

4.  เพื่อให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่านและรู้จักศึกษาหาความรู้

.. 47  -

.. 48

 

ห้องสมุดประชาชน เฉลิมราชกุมารี อำเภอท่าตูม

3,000

-  นักเรียนนักศึกษา  กศน.  และประชาชนทั่วไปมีนิสัยรักการอ่าน

-  ผู้รับบริการมีความรู้เพิ่มขึ้น  เป็นคนทันสมัย  ทันเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน  และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

 

 


คณะผู้จัดทำ

 

 

ที่ปรึกษา

                นายพิเชษฐ์  ดียิ่ง                                  ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าตูม

                นางสาวผุสดี  ทองศรี                     บรรณารักษ์ห้องสมุด

 

 

ผู้จัดทำ

                นางพิลาวัลย์  ดวงฉ่ำ                    ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน

                นางรุ้งนภา  ชูเชิด                         ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน

                นางสาวสมถวิล  พาเจริญ             ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน

                คณะครูศูนย์การเรียนชุมชน

 

 

ผู้รวบรวม/เรียบเรียง

                คณะครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน

               

 

 

ผู้พิมพ์/คอมพิวเตอร์

                นางสาวสมถวิล  พาเจริญ                ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน

 

 

 

     *****************************************

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตอนที่  2

 

 

-  (ร่าง) กลยุทธ กศน.ในอนาคตสู่การปฏิบัติของสำนักบริหารงาน                           การศึกษานอกโรงเรียน     ปี  2548 2551

 

 

 

 


               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาคผนวก