จุดเน้นดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน
ในปีงบประมาณ 2545


ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าตูม จะเน้นการจัดการศึกษานอกโรงเรียน
เพื่อผู้ด้อยโอกาส การศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ รวมถึงการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยจะลดจำนวนผู้ไม่รู้หนังสือ ส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดฝึกอบรมและพัฒนาด้านอาชีพ เพื่อการมีงานทำ การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่อำเภอท่าตูม โดยมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้

1. ส่งเสริมประชาชนผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียน ผู้ที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ ผู้พิการ ผู้ไม่รู้หนังสือ ให้มีโอกาสได้รับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตาม ความต้องการและความพร้อม ของแต่ละบุคคล โดยมีวิธีการดำเนินการ ดังนี้
1. ตรวจสอบบัญชี และสำรวจค้นหาผู้ไม่รู้หนังสือจากแหล่งข้อมูลสถิติที่มีการสำรวจไว้แล้ว
2. พัฒนาหลักสูตรสื่อและวิธีการในการแก้ปัญหาการไม่รู้หนังสือ และดำเนินการจัดการศึกษา เพื่อลดจำนวนกลุ่มเป้าหมายผู้ไม่รู้หนังสือ
3. จัดและส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่องเพื่อพัฒนาชีวิต และสังคมโดยให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสทุกคนมีโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน
4. จัดให้ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารีอำเภอท่าตูม เป็นศูนย์ผลิต และบริการสื่อ การศึกษานอกโรงเรียน เพื่อสนับสนุนการเรียนในการศึกษาขั้นพื้นฐานของ กลุ่มเป้าหมาย
5. ปรับปรุงห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารีอำเภอท่าตูม ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยให้จัดหาหนังสือ และจัดปรับปรุงให้เป็นห้องสมุดอินเตอร์เน็ต เพื่อให้สามารถบริการแก่ประชาชน
6. สนับสนุนให้ชุมชน จัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนให้ครบทุกตำบล อย่างน้อยตำบลละ 1 แห่ง เพื่อให้ประชาชนมีแหล่งค้นคว้าหาความรู้ที่ใกล้บ้าน ในอันที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิ ตและ การประกอบอาชีพได้อยางต่อเนื่องตลอดชีวิต
7. พัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยบูรณาการ เนื้อหา สาระด้านส่งเสริมประชาธิปไตย ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา และภูมิปัญญาไทย เพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
8. จัดและส่งเสริมให้มีกระบวนการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและสภาพปัญหา ความเร่งด่วนของแต่ละชุมชน เช่น การฝึกอบรม การจัดเวทีชาวบ้าน เวทีประชาคม กิจกรรมค่าย การจัดทัศนศึกษา เปิดโลกกว้างทางอาชีพ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และพัฒนาทักษะ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ของประชาชน

2. ด้านการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ส่งเสริมการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีวิธีดำเนินการ ดังนี้
1. จัดทำแผนความต้องการของชุมชนด้านการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ร่วมกันระหว่างชุมชนกับศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าตูม โดยยึดสภาพ และบริบท ของชุมชนเป็นฐาน เพื่อใช้เป็นแผนในการจัดการศึกษา และการเรียนรู้สำหรับประชาชนในชุมชน
2. พัฒนาศักยภาพของกลุ่มบุคคลและผู้นำของชุมชน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ในชุมชน รูปแบบต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดการดำเนินงานในแบบประชาสังคม อันจะนำไปสู่ความร่วมมือ ในการเสริมสร้าง ความเข้มเข็งในชุมชน
3. จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนที่สอดคล้อง กับแนวทางของโครงการพระราชดำร ิและการพัฒนาในพื้นที่เฉพาะ โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
4. ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานจัดการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย ตลอดจนพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุมชน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ที่จะดำเนินการ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
5. จัดทำ/ทำเนียบเพื่อใช้ประโยชน์จากคลังสมอง อันได้แก่ ผู้เกษียณอายุ ภูมิปัญญาหรือปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ทรงคุณวุฒิ ในสาขาวิชาต่างๆ

3. ด้านการจัดและส่งเสริมการศึกษาเพื่อตอบสนอง นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล จัดและ ส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อพัฒนาศักยภาพของประชาชนและ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชนในอันที่จะแก้ไขปัญหาของประเทศและ ตอบสนองนโยบาย เร่งด่วนของรัฐบาล โดยมีวิธีดำเนินการ ดังนี้
1. พัฒนาอาชีพส่วนบุคคลของชุมชน เพื่อเป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้กับตนเองและชุมชนรวมทั้งให้ทุก สถานศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดผลผลิตในชุมชนอย่างน้อยหนึ่งผลิตภัณฑ์
2. พัฒนาความรู้ ทักษะ และอาชีพพื้นฐาน ตลอดจนทักษะการเรียนรู้ด้านอาชีพ ให้ครบวงจร ทั้งด้านการผลิต การตลาด และการพัฒนาผลผลิต
3. จัดให้มีข้อมูลสารสนเทศด้านอาชีพ การตลาด กองทุน
4. ส่งเสริมการฝึกอาชีพให้แก่ผู้ด้อยโอกาสให้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำมาหากิน และการค้าขายได ้ตามความสนใจ และเหมาะสมกับสภาพของชุมชน
5. อบรมและให้ความรู้เพื่อให้สามารถป้องกันและแก้ใขปัญหายาเสพย์ติด โรคเอดส์ อบายมุข ต่าง ฯลฯ

4. ด้านการปฏิรูปการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย พัฒนาความพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การปฏิรูปการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อสนองตอบต่อพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยมีวิธีดำเนินการ ดังนี้
4. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการเรียนการสอนอย่างทั่วถึง
4. พัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน โดยบูรณาการชีวิตให้เข้ากับการทำงาน
4. พัฒนาระบบและกระบวนการเรียนรู้การศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต