ท่าตูม แหล่งกำเนิดช้างสุรินทร์

  ช้างสุรินทร์ มีลักษณะพิเศษ เป็นสัตว์เลี้ยงประจำบ้านใหญ่ที่สุด มีความใกล้ชิดและผูกพันกับ เจ้าของในฐานะ เป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว ชาวสุรินทร์จะปฏิบัติต่อช้าง ไม่ต่างกับที่เขาปฏิบัติ ต่อคนอื่นในตรอบครัว เช่น เมื่อมีการให้กำเนิดลูกช้าง ชาวสุรินทร์จะเลี้ยงทำพิธี “ แกร์” คือ พิธีรับขวัญลูกช้างเชื่อกันว่าเป็นพิธีเก่าแก่กระทำกระทำครั้งแรกประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 ที่มหาปราสาทเกาะแกร์ เมื่อช้างล้ม (ตาย) ทั้งเจ้าของและชาวบ้านจะร่วมกันทำพิธีฝังเมื่อครบ 3 เดือนจะขุดกระดูกขึ้นมาทำบุญอุทิศหา เช่น กับที่เขา ทำบุญอุทิศแก่ญาติผู้เสียชีวิตไป

อำเภอท่าตูม ถือได้ว่าเป็นแหล่งที่มีคน กูย หรือ ส่วย นิยมเลี้ยงช้างกันมาก และมีนำช้างมาชุมนุม แสดงช้างครั้งแรก ก่อนที่จังหวัดจะนำไปจัดเป็นการแสดงของ จังหวัดสุรินทร์ในเวลาต่อมา

การชุมนุมช้าง ที่ อ.ท่าตูม ปี /2498
อนุเสาวรีย์ช้างท่าตูม จัดสร้าง ณ ที่ชุมนุมช้าง


ลักษณะพิเศษของช้างสุรินทรอย่างหนึ่งคือ มีความสามารถเลือนแบบท่าทางมนุษย์ได้ ชาวสุรินทร์เลี้ยงช้างได้แก่ ชาวกูยมีประวัติแลปูมหลังดังรายงานแล้วในส่วนที่ว่า ด้วยสุรินทร์กับสิทธิถือผีและตอนอื่น ๆ


การจับช้างมี 3 วิธีคือ

    1. การวังช้าง
    2. การคล้องช้าง
    3. การโพนช้าง

       

       1.การวังช้าง คือการทำคอกหรือพะเนียดขนาดใหญ่เพื่อต้อรจับช้างคราวเดียวที่ละหลาย ๆ ตัว (ไม่นิยมเรียกช้างป่าเป็นเชือก)
        2.การคล้องช้าง คือการทำพะเนียดในป่าไล่ต้อนช้างมาเข้าพะเนียด แล้วเลือกคล้องเอา เฉพาะตัวที่ต้องการ อยุธยานิยมจับช้างโดยวิธีนี้ โดยทำพะเนียด ไว้ที่ชายป่าหรือชายทุ่ง ไม่ไกลจากเมืองหลวง
        3.การโพนช้าง คือการจับหรือคล้องโดยหมอช้างโดยการใช้ช้างต่อไล่ แล้วใช้บ่วงบาศ (หนังปะกำ) คล้องเข้าที่เท้าด้านใดด้านหนึ่ง ผูกล่ามไว้กับต้นไม้ระยะหนึ่ง เพื่อให้คลาย พยศแล้วจึงนำมาฝึกให้เชื่อง

ชาวกูยใช้มาแล้วทั้ง 3 วิธี แต่วิธีที่ 3 เป็นที่นิยมที่สุด เพราะได้ทั้งรสชาติการผจญภัย ท้าทายที่สำคัญคือเป็นวิธีการเช่นพรานไพร ผู้มีน้ำใจนักกีฬาจะพึงทำ ต้องใช้ทั้งหลักวิชาความสามารถ และการทำงานเป็นทีม

แหล่งที่นิยมทำการจับช้างมี 3 แห่ง คือ
    บริเวณป่าดงดิบด้านเหนือของประเทศกัมพูชา
    1. บริเวณแนวป่าลึกของจังหวัดเลย อำเภอวังสะพุงและเขตดงลาน
    2. แขวงจำปาศักดิ์ประเทศลาว
บริเวณที่ชาวกูยเลี้ยงช้างสุรินทร์ นิยมเดินทางไปจับช้าง คือแนวป่าดงดิบที่เมืองอุดรมีชัยประเทศกัมพูชา เพราะนอกจากจะมีช้างป่าอยู่กันอย่างชุกชุมแล้ว ยังเป็นที่ราบลุ่มง่ายแก่การติดตาม อนึ่งการเดินทางเข้าไปทำการจับช้าง ในพื้นที่ดังกล่าวมักได้รับการต้อนรับจากคนในพื้นที่ด้วยดีเนื่องจากเป็นคนในกลุ่มวัฒนธรรมเดียวกัน โดยจะเสียค่าธรรมเนียมเป็นเงิน ประมาณ 20 บาท แล้วทำการจับได้ตลอดไป

 ในการสนทนากับคณะครูบากูยหรือปะกำหลวงที่บ้านตากลาง อำเภอท่าตูม เมื่อ พ.ศ. 2529 ท่านเหล่านั้นได้ผลัดกันเล่าอดีตเมื่อครั้งเดินทางเข้าไปจับช้างที่อุดงชัยคัร้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2502 นี้เอง หลังจากจับช้างได้ถึง 3 ตัว ขณะเดินทางผ่านด่านเขมรเจ้าหน้าที่ไม่ยอมให้ผ่านเพราะ เห็นว่าจับได้ช้างมากเว้นแต่จะยินยอมให้ช้าง 1 ตัว ท่านปะกำหลวงจึงสั่งให้สะดำ ผู้เป็นควาญลูกทีม นำช้างต่อเชือกหนึ่งไปมอบให้โดยไม่รีรอ เมื่อเดินทางพ้นด่านเข้ามาในเขตแดนไทย ท่านได้สั่งให้สะดำคนนั้นเป่าสะแนงเกล (เครื่องเป่าสัญญาณทำจากโคหรือกระบือ) เป็นสัญญาณเรียก ช้างต่อที่เชื่อง ๆ ถูกเจ้าหน้าที่เขมรดูแลอยู่ห่าง ๆ ก็สลัดเครื่องพันธการวิ่งตามหาเจ้าของทันที คณะอาจารย์ เหล่านั้น ได้ผลัดกันเล่าถึง ความหลังด้วยความสนุกสนาน


เครื่องมือจับช้าง
        ดังรายการแล้ว การออกโพนช้างเแเป็นมหกรรมที่ให้ทั้งความสนุก ตื่นเต้นผจญภัยและมีผลตอบแทนที่ถือว่าแบบธรรมเนียมมาแต่โบราณ ดังนั้น การออกโพนช้างแต่ลพครั้งจึงมีการเตรียมการกันทั้งคุ้มหรือย่าน มีการตระเตรียม จัดหาอุปกรณ์ และเครื่องในสภาพใช้ได้ดี อุปกรณ์หลัก มัดังนี้

  1. หนังหรือเชือกปะกำ
  2. ทามคอ
  3. สลก
  4. ชนัก
  5. โยง
  6. สนามมุก
  7. ไม้คันจาม
  8. ไม้งก
  9. กาหรั่นหรือเคื่ยง
  10. สะแนงเกล
         1.หนังหรือเชือกปะกำ เป็นบ่วงบาศทำด้วยหนังกระบือแห้ง เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ
ยิ่งยวดหนังปะกำจะผ่านพิธีเซ่นไหว้มาเป็นอย่างดี ชาวกูย ถือว่าเป็นสิ่งสถิตขิงวิญญาณบรรพบุรุษ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เขาเคารพบูชา ชาวกวยจะสร้างหอหรือศาลเก็บหนังปะกำให้แยกต่างหากจาก ตัวบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ มีการไหว้เป็นประจำทุกปี ห้ามล่วงเกินห้ามข้ามหรือเหยียบ ห้ามสตรีและผู้ไม่ใช่สายโลหิตแตะต้องหรือขึ้นไปบนหอหรือศาลนี้ ถ้าละเมิดเรียกว่า ผิดคะลำ หรือผิดครู หรือผิดปะกำ ถ้าเป็นเวลาอยู่กับบ้านอาจอาจทำให้คนใดคนหนึ่งเจ็บป่วย ถ้าเป็นระยะออกจับช้างอาจเป็นบ้าสติหรือได้รับอันตรายจากช้างป่าลักษณะของหอหรือศาลปะกำจะสร้างคล้ายกับศาลปู่ ตา มีเสาสี่ต้น ยกพื้นสูงประมาณเมตร มีฝาและหลังคากันแดดและฝน นิยมสร้างไว้ด้านหน้าหรือตะวันออกของตัวบ้านเช่นเดียวกับคติการปลูกศาล พระภูมิ ในศาลนอกจากจะเก็บหนังปะกำแล้วยังต้องมีเครื่องบัตรพลีต่าง ๆ ตามประเพณีนิยม ที่ขาดเสียมิได้คือเหล้า ส่วนพิธีเซ่นอย่างเป็นกิจกรรมลักษณะและจริงจังจะมีเฉพาะฤดูออกโพน คือก่อนออกเดินทาง
         2.ทามคอ เป็นเชือกหนังขนาดใหญ่ เตรียมไว้ใช้ผูกคอช้างป่า ทำเป็นเงื่อนและบ่วงสำหรับสวมคอ มีทั้งที่ทำด้วยหนังหรือทราย ฟั่น 6 หรือ 8 เกลียวทามคอมี 2 เส้น หรือไม่ก็ทำเป็นบ่วงทั้งสอบปลายสำหรับผูกคอช้างป่าด้านหนึ่ง และล่ามติดต้นไม้อีกด้านหนึ่งระหว่างเงื่อนหรือทาบจะเชือกร้อยไว้ขนาดพอดีกับคอช้าง มีโซ่ติดกันด้วยกาหรั่นเพื่อกันมิให้ทามรัดคอช้างจนเป็นอันตราย
         3.สลกหรือซะหลก มีลักษณะคล้ายทามคอแต่ใช้กับช้างต่อผูกติดกับหนังปัะกำทำเป็นหนังฝั้น 3 เกลียว ปลายทั้งสองทำเป็นบ่วง
         4. ชนัก ทำด้วยเหล็กเส้นบิดเป็นเกลียว 3 ห่วง ๆ ละ 2 ท่อน ลักษณะเหมือนบังเหียนม้า ใช้เชือกป่านหรือปอยาว 4 – 5 เมตร สอดในห่วงช่วงที่ต่อท่อนเกลียวเหล็กกับห่วงรับเชือก ชายทั้งสองผู้กราบสวมคอช้างสำหรับให้หมอหรือคราญใช้หัวแม่เาสอดยึดไม่พลัดตก ประโยชน์การใช้เช่นเดียวกับโกลนที่อานม้า
         5.โยง มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ทำด้วยหนังบิดเกลียว 2-3 เส้น สำหรับใช้ผูกติดช้างใช้โยงเข้ากับขาช้าง
         6.สนามมุก ทำด้วยหนังเย็บเป็นถุงหรือได้ใช้ใส่เสบียงและของใช้
         7.ไม้คันจาม เป็นไม้เนื้อแข็งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 – 1.5 นิ้ว ยาวประมาณ 5 เมตร ปลายด้านนอกสำหรับสอดเหน็บหนังปะกำหรือบ่วงบาศ เพื่อคล้องเท้าช้างป่า
         8.ไม้งก เป็นไม้เนื้อแข็ง งอคล้ายฆ้อน ยาว 50 – 60 เซนติเมตร ปลายด้านหนึ่งเจาะรุเพื่อร้อยเชือกสำหรับผูกข้อมือควาญใช้ตีเท้าช้างเพื่อเร่งให่ช้างเดินหรือวิ่งเร็วขึ้น
         9.กาหรั่นหรือเดื่อง เป็นห่วงเหล็กทั้งขนาดเส้นและขนาดใหญ่ติดกัน มีเดือยสลักห่วงเล็กสอดกับรูบนขอบห่วงใหญ่ ปลายสลักเป็นแป้นกันหลุด ใช้เป็นตัวเชื่อม ระหว่างทามคอกับโซ่ ขณะล้มช้างป่าไว้กับต้นไม้ กาหรั่นหรือเดื่องจะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ทามคอรัดคอช้างป่าแน่นจนเกิดอันตราย
         10.สะแนงเกล ทำจากเขากระบือ ใช้เป่าให้สัญญาณขณะเดินทางอยู่ในป่า โดยจะเป่าเพียง 3 โอกาสดังต่อไปนี้เท่านั้น คือ
             10.1 เริ่มเดินออกทาง ก่อนพ้นหมู่บ้านสะดำหรือควาญแต่ละคนจะเป่าสะแนงเกลเป็นการอำลาบ้านและผีเรือน
            
10.2 ขณะอยู่ในป่าขณะออกทำการคล้องช้างไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน สะดำหรือควาญที่อยู่เฝ้าค่าย และที่ออกโพนจะเป่ารับกัน เพื่อป้องกันการพลัดหลง
             10.3 ขณะออกจากป่าหลังเสร็จภาระกิจ ปะกำหลวงจะเป่าเป็นสัญญาณออกเดินทางกลับ ขณะเดินทางกลับจวนจะถึงบ้าน บรรดาควาญทั้งหลายจะเป่าสแนงเกลเป็นสัญญาณออกไปถึงญาติมิตรว่าบัดนี้คณะผู้ออกโพนช้างได้เดินทางกลับมาแล้วโดยสวัสดิ์ภาพ
     ก่อนออกโพน
         เนื่องจากการออกจับช้างป่าเป็นงานเสี่ยงอันตรายทั้งจากโขลงช้างป่า ไข้ป่า การพลัดหลง ความอดอยากและภัยธรรมชาติอื่น ๆ กูยผู้ออกจับช้างจึงต้องอาศัยการปลุกหรือการสร้างขวัญและกำลังใจ กิจกรรมที่นิยมกระทำกันก่อนเดินทางคือดารขอพรจากผีปะกำซึ่งเชื่อว่าจะช่วยปกป้องคุ้มครองเข้าให้แคล้วคลาดจากภยันอันตรายจากสัตว์ป่า ผีป่า นางไม้และเจ้าป่า นอกจากนี้ยังเชื่อว่า อำนาจศักดิ์สิทธิ์ของหนังปะกำ เฉพาะอย่างยิ่งวิญญาณบรรพบุรุษซึ่งสิงอยู่ที่หนังปะกำ จะช่วยให้เขาประสบความสำเร็จในการออกจับช้างป่า เหนืออื่นใดหมด เป็นกุศโลบายการปกครองและการควบคุมการเดินทาง การตัดสินใจใดๆ ขณะการทำกิจกรรมในป่า ขณะเดินป่ากูย เหล่านี้จึงถือปฏิบัติตามแบบธรรมเนียม จารีตนิยมทั้งส่วนที่เป็นข้อห้ามและข้อพึงปฏิบัติอย่างเคร่งครัด อนึ่งเนื่องจากเนื่องจากอุบัติเหตุเภทภัยมักเกิดขึ้นอยู่บ่อยคัร้งขณะเดิดนทางและกำลังทำการจับช้างและมักเกิดความประมาณ เผลอเลอ ฝ่าฝืนข้อห้าม สิ่งเหล่านี้จะคอยเตือนให้บรรดาควาญทั้งหลายต้องคอยสังวรณ์อยู่เสมอ บรรดาสะดำ มะหรือจางจึงได้มีการมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบกันดังนี้
         1. มะหรือจามีหน้าที่เป็นผู้ช่วยควาญ เป็นผู้ถือท้ายคือเป็นท้ายช้าง คอยรับใช้ควาญหรือหมอใหญ่มะหรือจา         ต้องงดสูบบุหรีอย่างเด็ดขาดขณะอยู่บนหลังช้างหรือขณะประกอบพิธีกรรมห้ามกินขากินหัวและเครื่องในสัตว์
         2. หมอสะเดียงหรือสะเดียง เป็นผู้ชำนาญการควบคุมช้าง มีประสบการณ์การจับช้างมาแล้ว รู้และเข้าใจภาษาป่า (ภาษาสะเดียง) สะเดียงจะขี่อยู่ที่คอช้างต่อถือปฏิบัติเช่นเดียวกับมะอย่างเคร่งครัด
         3. หมอสะดำ หน้าที่ครวญเรียกควาญเบื้องขวา(สะดำแปลว่าถนัดหรือชำนาญ)มีศักดิ์สูงกว่าสะเดียง          มีประสบการณ์โดยเคยออกจับช้างมาแล้วอย่างน้อย 11 เชือก บางที “หมอใหญ่” ก็เรียก
    4.ครูบา เป็นหมอช้างใหญ่ เป็นหัวหมู่ช้างต่อตามปกติครูบาจะทำการออกจับช้างแต่ละครั้งต้องขออนุญาตหรือได้รับคำสั้งจากครูบาใหญ่ นั่นคือในการออกเดินทางจากค่ายเข้าไปจับช้างป่า ครูบาใหญ่จะเป็นผู้จัด อัตรากำลังพล
    5. ครูบาใหญ่ เป็นปะกำหลวงหรือหมอช้างใหญ่ บ้างก็เรียก “ ปทิยาย” หรือ บัติยาย” หรือ “หมอเฒ่า” เป็นผู้อำนวยการออกจับช้างแต่ละ ครั้ง นับ ตั้งแต้เป็นประธานในพิธีเซ่นหนังปะกำตลอดจนการประกอบพิธีอื่น ๆ ขณะเดินป่า เป็นผู้ชี้ขาดและตัดสินใจขณะทำการจับช้างมีกฤตาคมสูง เป็นผู้ชี้ขาดและตัดสินใจขณะทำการจับช้างมีกฤตาคมสูง สามารถป้องกันภัยทั้งภูติผีและสัตว์ป่าได้ด้วยเวทมนต์ ในการออกจับช้างแต่ละครั้ง ต้องแสดงความสามารถให้ลูกทีมเห็นด้วยการจับช้างป่าด้วยตนเองอย่างน้อย 1 ตัว

กูย  เป็นกลุ่มชนที่ยึดมั่นอยู่ในคตินิยมเชิงไสยศาสตร์อย่างเคร่งครัด เชื่อว่าถ้าเซ่นพลีถูกจะเป็นนิมิตหมายแห่งโชคลาภ และความปลอดภัย พิธีกรรมแรกที่นับเนื่องกับการออกจับช้างคือ พิธีเซ่นหนังปะกำหรือผีปะกำ หมอเฒ่าหรือหมอหลวง จะทำหน้าที่ประธาน มีสะดำ 3 คนคอยรับใช้ พิธีเริ่มขึ้นท่ามกลางควาญลูกทีมและญาติพี่น้อง

เครื่องบัตรพลีประกอบด้วย
1. หัวหมู 1 หัวพร้อมเครื่องในทุหชนิดถ้าหาไม่ได้อาจใช้เป็ดแทนก็ได้
2. ไก่ต้ม 1 ตัว
3. เหล้าขาว 1 ขวด
4. กรวยใบตองพร้อมดอกไม้ (โดยมากใช้ยอดต้นปีกไก่ดำหรือยอดหม่อนซึ่งเป็นนใบไม้หาง่าย)
5. เทียน 1 คู่
6. หมาก 2 คำ
7. บุหรี่ 2 มวน
8.ข้าวสารหอม 1 จาน
9. แกง 1 ถ้วย
10. ขมิ้นผง
11. น้ำเปล่า 1 ขัน
12. ด้วยผูกแขน (ด้ายดำ ด้ายแดง)

      ครูบาใหญ่ผู้เป็นประธานพิธีจะนุ่งโสร่งเขียงใบตองอ่อน ไม่สวมเสื้อ มีผ้าขาวม้า 2 ผืน ผืนหนึ่งคาดเอว อีกผืนหนึ่งคล้องบา อาจนำเครื่องลางหรือวัตถุมงคลอย่างอื่นมาเข้าพิธีด้วยก็ได้       พิธีเริ่มต้นโดยหมอเฒ่าและสะดำเครื่องเซ่น ถวายผีปะกำ จุดเทียนบูชา ทำการเสี่ยงทาย โดยยกไก่ต้มขึ้นมาจบพร้อมกล่าวว่า " พวกข้าพเจ้าจะไปคล้องช้างคลาวนี้จะได้หรือไม่ได้
ถ้าได้ขอให้หัวไก่เป็นสีขาวตลอด ให้คางไก่เป็นปรกติ ถ้าไม่ได้ขอให้หัวไก่ฟกซ้ำ คางไก่งองงุ้มเอาปลายปากเข้าหาคอ"
เมื่ออธิษฐานและประกาศดังๆ เสร็จแล้วให้รินเหล้าใสแก้วพร้อมเชิญผีปะกำมาดื่ม แล้วหยิบหัวไก่ขึ้น ฉีกกระดูกคาง ถ้ามีสีซ้ำ คางไก่งอแสดงว่าลาง ไม่ดี ห้ามออกคล้องช้าง ภ้าไปจะำด้รับอันตรายถึงชีวิต ถ้าหัวและคางไก่ปรกติแสดงลางดี จะประสพโชคในการคล้องช้าง นอกจากนี้แล้ว หมอเฒ่าจะยังค่อยๆแกะเนื้อหนังและกระดูกส่วนอื่น ๆ ออกจากหัวไก่แล้วทำการทำนายตามลักษณะ งอโค้ง งองุ้ม หรือ เหยียดตรงของกระดูกเล็ก ๆ ทั้งสอง พิธีกรรมนี้ เรียกว่า พิธีถอดกระดูกคางไก่ เมื่อเสร็จพิธีและได้ฤกษ์ลางดี หมอเฒ่า
จะสั่งให้ควาญผู้ช่วย นำอุปกรณ์คล้องช้างหรือต่อช้างครบถ้วนขึ้นหลังช้าง หมอช้างทั้งหมดจะอำลามิตรแล้วเข้าขบวนเดินทางตามลำดับก่อนหลังตามศักดิ์และคำสั่งของหมอเฒ่า เมื่อหมอเฒ่า สั้งเคลื่อนกำลังสะแนงเกลก็จะดังขึ้นและค่อย ๆ แผ่วลงและแผ่วลงเมื่อกระบวนเคลื่อนห่างไกลบ้านออกไปจนลับสายตาท่ามกลางญาติมิตรที่มาส่ง ท่ามสายตาที่เป็นห่วง และหัวใจที่รอคอยด้วยความหวัง เขาจะไม่ได้ยินเสียงสแนงเกลอีกเลยตราบเท่าที่กองคาราวานนี้ไม่เดินทางกลับ

ข้อถือปฏิบัติ (คะลำ)
ต่อไปนี้ที่รู้จักกันในหมู่กวยเลี้ยงช้างว่า "การเข้าปะกำ ทุกคนและทุกฝ่ายคือทั้งผู้ไปคล้องช้าง และทางบ้านต้องถือปฏับัติอย่างเคร่งครัดถ้าละเมิดอาจประสพเภทภัยถึงตายได้ ข้อถือปฏิบัติดังกล่าวมีดังนี้

    1. สำหรับผู้ออกคล้องช้าง
       1.1 ห้ามแต่งกายสวยงาม ให้ใส่เสื้อผ้าเก่า ๆ (โบราณทีเดียวไม่ใส่เสื้อเลย)
       1.2 หลังพิธีเซ่นผีปะกำแล้ว ห้ามขึ้นเรือนอีก จนกว่าจะเดินทางกลับและเชิญหนังปะกำขึ้นไว้บนศาลแล้ว
       1.3 ห้ามยุ่งเกี่ยวทำนองชู้สาวกับสตรีอันขาด ฝ่าฝื่นจะถูกเสือคาบไปกิน
       1.4 ห้ามใช้ผ้าขาวม้าโพรกศีรษะขณะเดินทาง
       1.5 ต้องเคารพและเชื่อฟังหมอเฒ่าอย่างเคร่งครัด
       1.6 พูดกันด้วยภาษาป่าหรือภาษาผีเท่านั้นห้ามพูดภาษาพื้นบ้านตน
       1.7 ห้ามพูดเท็จหรือมีความลับต่อกัน
       1.8 หมอช้างคนอื่น ๆ ต้องเข้านอนหลังหมอเฒ่า ก่อนนอนต้องกราบไหว้ผีปะกำและครูบา
       1.9 เมื่อสูบบุหรี่ต้องบังแสง จะให้คนอื่นเห็นแสงไฟบุหรี่ไม่ได้
      1.10 ห้ามคล้องลูกช้างป่าที่ยังไม่หย่าแม่เป็นอันขาด
2. สำหรับผู้อยู่ทางบ้าน
       2.1 ห้ามรับคนอื่นขึ้นบ้านเป็นอันขาด
       2.2 ห้ามนั่งตามบันไดโดยเด็ดขาด
       2.3 ห้ามตัดเล็บ ตัดผม
       2.4 ห้ามทาขมิ้น เครื่องประทินผิว ผัดหน้าทาแป้ง
       2.5 ห้ามหวีผม สระผม
       2.6 ห้ามไปนอนหรือค้างคืนบ้านคนอื่น
       2.7 หัวหน้าบ้านหรือหัวหน้าครอบครัว ไม่ว่าหญิงหรือชายต้องไว้ผมยาว
       2.8 ห้ามขานหรือตอบทักทายจากบนบ้านไม่ว่าจะมีผู้มาเยือนในเวลาใด
       2.9 ให้ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผีสาง เทวดาก่อนนอนทุกคืน
       2.10 ห้ามพูดเท็จ ดุด่า กล่าวถ้อยคำคำหยาบ
       2.11 ห้ามนุ่งผ้าใหม่
       2.12 ขณะหุงข้าวเข้าครัว ห้ามชักฟืนออกให้ดันเข้าเท่านั้
       2.13 ขณะตัดหรือผ่าฟืน ห้ามใช้เท้าเหยียบให้ฟันจนกว่าฟืนจะขาดไปเอง

พิธีสารภาพบาป
       เมื่อเดินทางถึงทำเลที่ทำการคล้องช้าง หมอเฒ่าจะสั่งตั้งค่าย อยู่เวรยาม ให้ทุกคนแระชุมพร้อมหน้ากันต่อหน้าปะกำอันศักดิ์สิทธิ์ (ทำเป็นศาลเพียงชั่วคราว) ทุกคนไม่มีการยกเว้นต้องสารภาพความผิดที่ตนแอบหรือลักลอบกระทำขณะเดินทางห้าบิดบัง แม้แต่การกระทำบางอย่างที่เจ้าตัวไม่แน่ใจ ก็ให้สารภาพหมด หมอเฒ่าจะทำการไต่สวนอย่างจริงจัง ผู้ใดละเมิดศีล 5 ข้อใดข้อหนึ่งจะไม่ได้รับการคล้องช้าง
จนกว่าจะผ่านพิธีสารภาพความผิด เพื่อล้างมลทินเสียก่อน พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์นี้เรียกว่า "พิธีปะสะ" เครื่องบัตรพลีในพิธีประกอยด้วย
       1. ข้าวสาร 1 ถ้วย (ขณะเดินทางป่ากองคาราวานคล้องช้างนิยมจัดวางถุงข้าวสารไว้ตรงกลาง หรือ ใกล้ ๆ ขดหนังปะกำ เล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์ว่า แม้แต่มดยังไม่มีมาไต่ตอมข้าวสารเลย)
       2. ดอกไม้ 5 ดอก
       3. เทียน 1 คู่
       4. เงินค่าปรับสุดแต่โทสานุโทษ คือ
               4.1 ความผิดฐานลักปรับ์ปรับ 12 บาท
               4.2 ความผิดฐานปล้นทรัพย์ปรับ 40 บาท
               4.3 ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นปรับ 60 บาท
               4.4 ความผิดฐานล่วงเกินภรรยาผู้อื่น ปรับ 60 บาท ความผิดที่ไม่สามารถล้างมลทิลได้คือ ความผิดฐานกินงูเหลือม หมอผู้เฒ้าผู้ทรงกฤตาคมจะนำผู้กระทำผิดประกาศใฟ้ผีสาง เจ้าป่า เทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์รับรู้ เพื่อขอให้ช่วยชำระควมผิด จะสั่งให้ผู้ทำความผิดกราบขอขมาพระแม่ธรณี 3 ครั้ง แล้วขอให้พระอาทิตย์ผู้เป็นเทพแห่งขักรวาล ฉายแสงชำระผู้กระทำให้บริสุทธิ์

พิธีเปิดป่า(เบิกไพร)
       พิธีเปิดป่า เป็นพิธีกรรมขออนุญาตและรับพรจากเจ้าป่า เพื่อให้ประสบความสำเร็จและแคล้วคลาดจากภยันตราย ก่อนจะออกทำการจับช้าง ถ้ามีพิธีประสะ พิธีกรรมนี้ก็จะจัดต่อเนื่องกับพิธีประสะเลย
เครื่องบัตรพลีประอบด้วยสัตว์เนื้อ 1 ตัว หมากพลู บุหรี่ และเหล้า โดยทำเป็นศาลชนาดเล็ก หมอเฒ่าจะนำกล่าวในพิธีเบิกไพร ด้วยข้อความที่ว่า
        "วันนี้พวกข้าพเจ้า และช้างได้เข้ามาเดินหาลูก ช้าง ลูกม้าของเจ้าป่า พร้อมกับมีของมาถวายขอให้เจ้าป่าได้ไล่ต้อนโขลงช้างป่าออกมา ส่วนสัตว์ร้ายต่างๆ นั้นอย่าได้ปล่อยมารบกวนพวกข้าพเจ้า"
       หลังคำประกาศของหมอเฒ่า บรรดาควาญ สะดำ สะเดียงทั้งหลายก็จะพร้อมกันเปล่งเสียง "อากง....เอย" พร้อมๆ กันทั้งนี้ก็ด้วยเชื่อในคำบอกเล่าว่า อากงคือควาญคนแรกที่ออกทำการจับช้าง ครั้งหนึ่งเขาขี่กระบือออกคล้องช้าง หลังจากกระโดดขึ้นคอช้างป่าแล้วก็หายเข้าป่าไปพร้ดมกับโขลงช้างป่า อากงจึงเป็นเจาของโขลงช้างป่าเหล่านั้น
       หลังเสร็จสิ้นพิธีเบิกไพรแล้ว หมอเฒ่าจะเซ่นเจ้าป่า และบริกรรมคาถาบังคับช้างอันศักดิ์สิทธิ์พร้อมกันนั้นก็จะสั่งให้ก่อกองไฟขึ้น 3 กอง เรียกว่า "กองกำพวด"
       กองที่หนึ่งก่อไว้หน้าค่ายเรียก"กำพวดเซิง"
       กองที่สองก่อไว้ด้านขวาของค่ายเียก "กำพวดสะดำ"
       กองที่สามก่อไว้ด้านซ้ายของค่ายเรียก "กำพวดสะเดียง"
       กองไฟทั้งสามถือว่าเป็น "กองเพลิงอันศักดิ์สิทธิ์สามารถคุ้มครองทุกคน ให้แคล้วคลาดจากภยันตราย ทั้งปวง
       กองไฟสะดำแลสะเดียง ห้ามใช้ทำประโยชน์ใดๆ นอกจากจุดไว้กันภัย ส่วนกองไฟเซิงสามารถทการหุงต้มและจุดบุหรี่ได้

การไล่ต้อนและเข้าจับช้างป่า
       หมอเฒ่าจะจัดกำลังช้างต่อเป็น 3 ส่วน คือ ทีมหมอสะดำ หมอสะเดียวและหมอเฒ่า โดยสั่งให้ทีมหมอสะดำ และหมอสะเดียง ขยายแนวไล่ต้อนเป็นปีกกาซ้ายขวา เมื่อไล่ต้อนและกันช้างป่าตัวที่ต้องการออกมาในทีโล่งแล้ว หมอช้างจะรับคันจามมาจากมะหรือจา พร้อมกับใสช้างต่อเข้าประกบ เมื่อไดจังหวะจะรีบสอดคันจามที่มีบ่วงบาศที่ปลายเข้าเท้าช้าง เมื่อช้างป่าเหยีบลลงในวงบ่วงบาศหรือบ่วงหนังปะกำ หมอช้างก็จะโรยเชือกหรือหนังปะกอที่เหลือลงกับพื้นดิน แล้วใช้ช้างต่อดึงรั้งไว้
       หลังจากปล่อยให้ช้างป่าดึงไปได้ระยะพสมควรมะจะกระโดดลงจากหลังช้างต่อนำปลายบ่วงบาศอีกด้านหนึ่งผูกรัดกับต้นไม้ใหญ่ ถ้าช้างป่ามีกำลัง มากหมอจะปล่อยบ่วงชายเชือกออกจากคอช้างต่อ ใช้สมอที่ทำด้วยกิ่งเขากวางผูกติดให้แน่น แล้ว ปล่อยให้ช้างป่าลากไป กิ่งเขากวางจะทำหน้าที่เป็นสมอฉุดรั้งเกี่ยวกิ่งหรือรากไม้ ไม่ช้าไม่นานช้างป่าก็จะเริ่มอ่อนแรงและถูกมัดติดตรึงกับต้นไม้ใหญ่ หลังจากนั้นมะบ่วงบาศเป็นทามคอ โดยใช้ช้างบ้านสองเชือกฉุดประกำ
       ช้างป่าหรือช้างเฉลยซึ่งส่วนใหญ่จะเลือก เอาตัวที่มีขนาดสูงประมาร 3 ศอก เริ่มมีงางอกออกมาเล็กน้อย จะถูกล่ามให้หมดแรง ถูกทรมานให้อดน้ำอด หญ้าอยู่เป็นเวลา 1 วัน 1 คืน หลังจากนั้นควาญผู้ชำนาญก็จะนำช้างป่าที่หมดแรง ไปผูกติดกับหลักทีเตรียมไว้ทาบคอ จะเป็นเครื่องจองจำทำให้มันเจ็บถ้าดิ้น
       กรณีควาญหลายคนทำการจับช้างป่าเชือกเดียวกัน ให้หมอเฒ่าเป็นผู้ชี้ขาดว่า ใครคือคนแรกที่จับช้างได้ หลักการตัดสินง่ายๆที่นำมาใช้คือ ถ้าทิ้งบ่วงบาศที่อยู่ส่วนบนเป็นคนแรก ถ้าทิ้งบ่งบาศติดทั้งเท้าหน้าและหลัง ให้ผู้ทิ้งบ่วงติดเท้าหลังเป็นคนแรก ถ้าทิ้งบ่วงบาศติดทั้งเท้าหลังเป็นคนแรก ทั้งนี้โดยมีประจักษ์พยานบุคคลที่อยู่ในเหตุการณืสนับสนุด้วยส่วนหนึ่ง
       เมื่อคล้องช้างป่าได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หมอเฒ่าหรือปะกำหลวงจะทำพิธีปัดรังควาญ ไล่ภูติผีป่า "มะเร็งกงเวียร" ออกจากช้าง โดบใช้กิ่งไมหรือผ้าขาวม้าปัดไปบนหลังพร้อมกับปริกรรมคาถา "สะปะช้างป่า" กำกับ
       การแบ่งปันผลประโยชน์ให้จัดสัดส่วนผลตอบแทนจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ เจ้าของช้างต่อหมอช้าง ควาญ และมะ ถ้าคล้องได้สองเขือกเจ้าของช้างต่อเสียก่อนหนึ่งเชือก ที่เหลือขายหรือแบ่งกันแบบ "พี่สองน้องหนึ่ง" ลดหลั่นกันตามศักดิ์
       บันทึกส่งท้ายของรายงานในส่วนที่ว่ด้วยตำนานคฃศาสตร์แหงเมืองสุรินทร์นี้ ขอจบลงด้วยช้อมูลอันนำควมปลื้มปีติมาสู่ชาวสุรินทร์ อย่างไม่มีวันลืมคือ ในพระราชพิธีเถลิงถวัลยราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 นั้นผู้เชี่ยวชาญในตำนานคชศาสตร์รอบรู้ในการอ่านคชลักษณ์ที่มิ่งมงคลขึ้นระวางเป็นช้างข้างต้นในพระราชพิธีสำคัญอันนั้น


ประเภทของช้าง

  ช้างเผือก

เป็นสัตว์หายากอย่างยิ่ง แต่โบราณกาลมาถือว่า ช้างเผือกเป็นช้างมงคล ทำให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล บ้านเมืองเจริญ มั่งคั่ง มีตบะเดชะเป็นที่ยำเกรงของชาติอื่น เช่น ช้างเผือกที่กล่าวถึงในเวสสันดรชาดก สาเหตุที่ชาวเมืองกลิงคราช มาทูลของช้างเผือกจากพระเวสสันดรก็เพราะเมืองดังกล่าวเกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฟ้าฝนตกไม่ถูกต้องตามฤดูกาล ช้างเผือกจัดเป็น 1 ใน 7 ของแก้วสารพัดนึกของ พระมหาจักรดิ ดังมีปรากฏอยู่ในคำภียร์ทางพระพุทะศาสนา แก้ว 7 ประการดังกล่าวคือ
    จักรแก้ว
    ช้างแก้ว
    ม้าแก้ว
    มณีแก้ว
    นางแก้ว
    ขุนคลังแก้ว
    ขุนพลแก้ว
คตินิยมยกย่องช้างเผือกมีขึ้นในอินเดียฝ่ายเหนือก่อน ลัทธิอินดูพราหมณ์สายนับถือพระอินทร์ถือว่า เอราวัณช้างเผือกพระที่นั่งของ พระอินทร์เป็นเทพบุตรองค์หนึ่ง เมือใดพระอินทร์ประสงค์ จะเสร็จทางสถลมาร์ค เทพองค์นี้ก็จะเนรมิตตนเป็นพญาช้างเผือก เพื่อให้พระอินทร์ประทับ เมื่อคตินิยมฮินดูพราหมณ์แพร่หลายเข้ามาในสุวรรณภูมิ ความเคารพยกย่องช้างเผือก ก็แพร่หลายเข้ามาด้วย พุทธศาสนาก็ยกย่องช้างเผือกและยอมรับว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ แม้ว่าแต่การเรียกพระพุทธ พระธรรม พระสงค์ เรียกว่ารัตนตรัย แปลว่าแก้วสามดวง หรือสามประการโดยเลียนแบการเรียกขานมาจากคตินิยมพราหมณ์ว่าด้วยแก้วประเสร็ฐ 7 ประการนั่นเอง แม้แต่คัมภีร์พระสุตันตปีฎกก็ได้กล่าวถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้าว่า เคยเกิดหรือ เสวยพระชาติเป็นพญาช้างเผือกมาก่อน ช้างเผือกเข้ามามีบทบาทในประวัติศาสตร์ไทยโดยมีหลักฐานอ้างอิงหลายสมัย เช่น จารึกหลักที่หนึ่ง สมัยกรุงศรีสุโขทัยระบุว่า ช้างพระที่นั่งชื่อ “แสนพลพ่าย” และพลาย “รูจาลี” ที่เสด็จทรงขณะออก ทำศึกกับเจ้าเมืองฉอด และเชือกหลังใช้ทรงเมื่อจะเสด็จไปฟังเทศที่อรัญญิกนั้นก็เป็นช้างเผือก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้รับการขนานพระนามด้วยความเทิดทูนว่า”พระเจ้าช้างเผือก” ก็ด้วยเลื่องลือกันว่าทรงมีช้างเผือกในโรงช้างหลวงอยู่ถึง 7 เชือก พรายพระที่นั่งชื่อ ”เจ้าพระยาไชยานุภาพ” และ “เจ้าพระยาปราบไตรจักร” ของพระสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และของสมเด็จพระอนุชาเอกาทศรถ ก็เป็นช้างเผือกเช่นกัน ช่างเผือกเป็นชื่อใช้เรียกช้าง ที่มีสีผิวขาวอมชมพูแกมเทา คือมีสีผิวเหมือนกระบือเผือกช้างเผือกบางเชือก แทบจะมีสีผิว เหมือนช้าง ทั่วไป แต่คชลักษณ์อื่นที่อยู่ในตระกูลช้างเผือกได้ นั่นคือความเป็นช้างมงคลหรือช้างสำคัญนั้น ยังมีลักษณะพิเศษอื่นๆ นอกเหนือจากสีผิวด้วย
     
          พระราชบัญญัติรักษาช้างป่าพุทธศักราช 2464 มาตรา 4 ระบุมงคลลักษณะไว้เจ็ดประการ สอดคล้องกับตำนานคชลักษณ์ คือ
    1. ตาขาว
    2. เพดานปากขาว
    3. เล็บขาว
    4. ขนขาว
    5. พื้นหนังขาวหรือสีคล้ายสีหม้อไหม้
    6. ขนหางขาว
    7. อัณฑโกสขาวหรือมีสีคล้ายหม้อไหม้

     

    ตำราคชลักษณ์ได้กล่าวถึงช้างเผือกเชือกสำคัญว่ามีอยู่ 4 ตระกูล นั่นหมายความ
  1. ว่า ช้างเผือกอาจไม่จัดเข้าตระกูลหนึ่งเลยก็ได้ ถ้าคชลักษณ์ไม่ถูกตำรา 4 ตระกูลของช้างเผือก คือ
    1. ตระกูลอิศวรพงศ์
    2. ตระกูลพรหมพงศ์
    3. ตระกูลพิษณุพงศ์
    4. ตระกูลอัคนีพงศ์
1.1 ตระกูลอิศวรพงศ
          เป็นช้างที่พระอิศวรเจ้าทรงสร้างเป็นตระกูลช้างขัตติยะ
คือเป็นราชันย์หรือเจ้าแห่งช้างทั้งหลาย ลักษณะเด่น ๆ คือ
    1. ผิวดำสนิท ละเอียด เกลี้ยงเกลา
    2. งาทั้งสองใหญ่ ชูได้ระดับเสมอกัน เรียวงามอย่างได้สัดส่วน
    3. เท้าใหญ่
    4. น้ำเต้ากลม ขณะเดินคอย่น
    5. หลังเป็นรูปทรงคันธนู
    6. อกใหญ่
    7. หน้าสูงกว่าท้าย
ช้างเผือกในตระกูลนี้ยังจำแนกออกได้เป็น 8 หมู่ตามคชลักษณ์เฉพาะอีกด้วยเชื่อว่าช้างเผือก ตระกุลอิศวรพงศ์เป็นช้างมงคลจะหนุนส่งให้เป็นเจ้าของเจริญด้วยทรัพย์และอำนาจ

                  

         1.2 ตระกูลพรหมพงศ   เป็นช้างที่พระพรหมเป็นผู้สร้างลักษณะ

 

    1. เนื้ออ่อน
    2. ขนนิ่ม ละเอียด ขึ้นขุมละสองเส้น
    3. น้ำเต้าแฝด
    4. คิ้วสูง
    5. โขมดสูง
    6. ทีกระขาวทั่วตัว
    7. ท้ายต่ำกว่าหน้า
    8. ขนหลัง ขนปาก ขนตาขาว
    9. อกใหญ่
    10. งานสีเหลือง
    11. งวงเรียว

    ช้างเผือกตระกูลนี้ยังจำแนกได้เป็น 10 หมู่  เชื่อว่าเป็นช้างมลคลจะหนุนส่ง ให้เป็นเจ้าของ เจริญด้วยอายุ และวิทยาการ

          1.3 ตระกูลพิษณุพงศ์ ป็นช้างพระนารายณ์ทรงสร้าง ลักษณะ

             1. ผิวเนื้อหนา
             2. ขนหน้าเกรียน
          
   3. อก คอ คาง เท้าทั้งสี่ใหญ่
             
4. หางยาว
        
    5. งวงยาว
             6. หน้าใหญ่
 
             7. ลูกตาใหญ่ ขุ่นมัว
            
8. หลังราบ
ช้างเผือกตระกูลนี้จำแนกได้เป็น 8 หมู่ เชื่อว่าเป็นช้างมงคลหนุนส่งให้เป็นเจ้าของ มีชัยชนะเหนือศัตรู นำฝน ผลาหาร ธัญญาหารบริบูรณ์            

                 

        1.4 ตระกูลอัศนีพงศ์

เป็นช้างที่พระเพลิงทรงสร้าง ลักษณะ
    1.  ผิวกระด้าง
    2. ขนหูหยาบ
    3. ตะเกียบหูห่าง
    4. หางเขิน
    5. หน้ากระแดง
    6. ปากแดง
    7. งวงแดง
    8. ผิวหม่นไม่ดำสนิท
จำแนกได้เป็น 42 หมู่

     เชื่อว่าเป็นช้างมงคลหนุนส่งใหผู้เป็นเจ้าของเจริญด้วยมัจฉมังวสาหาร (อาหารประเภทปลาและเนื้อ)


         2. ช้างธรรมดา
หมายถึง ช้างทั่วไป มีอยู่ในหลายพื้นที่ในประเทศไทย บางพื้นที่อาจมีช้างอยู่ มากกว่าที่จังหวัดสุรินทร์ แต่ไม่เป็นที่รู้จัก ทั้งนี้เพราะช้างในพื้นที่อื่นเลี้ยงไว้ใช้งาน เช่นลากไม้ ขนสำภาระที่มีน้ำหนักมาก